Wednesday, April 27, 2016

เหยื่อรายล่าสุด !! ของขบวนการคลั่งศาสนา (ก่อการร้ายและแบ่งแยกดินแดน) !!!

กลุ่มติดอาวุธ อาบูไซยาฟ ในฟิลิปปินส์สังหารตัวประกันชาวแคนาดาคนหนึ่งด้วยการตัดคอแล้ว
หลังจากเส้นตายสำหรับจ่ายเงินค่าไถ่ที่พวกเขาเรียกร้องหมดลง...
สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า ตัวประกันชาวแคนาดาซึ่งถูกกลุ่มติดอาวุธ 'อาบูไซยาฟ' ในประเทศฟิลิปปินส์จับตัวไปเมื่อปลายปีก่อน
ถูกสังหารแล้ว โดยมีผู้พบศีรษะของเขาถูกนำมาทิ้งบริเวณถนนเส้นหนึ่งในเมืองทางใต้ของประเทศ เพียง 5 ชั่วโมงหลังจากกำหนดเส้นตาย
จ่ายเงินค่าไถ่ตัวประกันที่กลุ่มติดอาวุธกลุ่มนี้เรียกร้องสิ้นสุดลงเมื่อวันจันทร์
นายกรัฐมนตรี จัสติน ทรูโด แห่งประเทศแคนาดา ออกมาระบุตัวผู้เสียชีวิตว่าคือ นาย จอห์น ริดส์เดล อายุ 68 ปี
จากเมือง แคลการี รัฐแอลเบอร์ตา และระบุว่าชายคนนี้ถูกสังหารในการฆาตกรรมอย่างเลือดเย็นด้วยฝีมือกลุ่มติดอาวุธอาบูไซยาฟ
และทางการแคนาดาจะทำงานร่วมกับรัฐบาลฟิลิปปินส์และพันธมิตรนานาชาติเพื่อนำผู้รับผิดชอบมาลงโทษ
ทั้งนี้ กลุ่มอาบูไซยาฟแพร่คลิปวิดีโอเมื่อเดือนพ.ย. ปีก่อนเรียกค่าไถ่ตัวประกัน 4 คน ที่ถูกลักพาตัวไปจากเมืองตากอากาศ โอชียนวิว
บนเกาะ ซามาล ใกล้เกาะมินดาเนา ในช่วงเย็นวันที่ 21 ก.ย. 2015 ซึ่งประกอบด้วยชาวแคนาดา 2 คน คือนาย โรเบิร์ต ฮิล และ
นายริดส์เดล กับชาวนอร์เวย์ชื่อ คาร์ตาน เซคคิงสตัด และหญิงชาวฟิลิปปินส์อีก 1 คน โดยเรียกร้องเงินรวม 80 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ก่อนในเดือนมี.ค.ที่ผ่านมาอาบูไซยาฟจะแพร่คลิปขีดเส้นตายสำหรับจ่ายค่าไถ่ไว้ที่ 1 เดือน
อย่างไรก็ตาม ทางการฟิลิปปินส์ยังไม่ยืนยันว่าผู้เสียชีวิตเป็นหนึ่งในตัวประกันที่ถูก อาบูไซยาฟ จับตัวไว้หรือไม่
โดยนายจุนปีการ์ ซิติน ผู้บังคับการตำรวจเมืองโฮโล เมืองเอกของจังหวัดซูลู ทางใต้ของฟิลิปปินส์ เปิดเผยว่า
พบศีรษะของชาวคอเคเซียน หรือคนผิวขาวเพศชาย อยู่ในถุงพลาสติก ซึ่งถูกนำมาทิ้งไว้บริเวณถนนในเมืองโฮโล เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา




สาเหตุของความรุนแรง การก่อการร้าย การแบ่งแยกดินแดน ที่เกิดขึ้นทั่วโลก จะมีแรงผลักดันมาจาก ๓ ส่วน
ประกอบกัน นั้นก็ คือ เชื้อชาติ ศาสนา และ ดินแดน
เป้าหมายหลักของมุสลิมก่อการร้ายแบ่งแยกดินแดนทุกที่ทั่วโลก คือ

คนต่างศาสนาที่ศาสนานี้ เรียกว่า พวกชาวนรกกาเฟร
ในไทยก็คือ คนพุทธกับมุสลิม ไทยกับมาลายู และสยามกับปัตตานี
ในฟิลิปปินส์ ก็คือ คนคริสต์กับมุสลิม ปินอยส์กับโมโร และฟิลิปปินส์กับเกาะมินดาเนา
ในจีนก็ คอมมิวนิสต์กับมุสลิม ฮั่นกับอุยกูรย์ และจีนแผ่นดินใหญ่กับชินเกียง

จุดประสงค์ก็เพื่อ สร้างความหวาดกลัว และ ลดจำนวนคนต่างศาสนาในพื้นที่
เหมือนดังที่ในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา ที่ศาสนานี้ จะใช้สงครามและความรุนแรงมาเผยแผ่ศาสนา
หรือใช้ข้อได้เปรียบเทียบของรัฐมาบังคับให้เปลี่ยนศาสนา

ศาสดาสอน หลักการ ญิฮาด ที่เปิดช่องว่างเอาไว้ตอบโต้ต่อผู้ต่อต้านอิสลาม
ทำให้สาวกเอาไปใช้อ้างก่อความรุนแรงโดยชอบธรรมได้
อีกอย่าง เอาศาสนามารวมกับรัฐ จึงเกิดลัทธิคลั่งศาสนาขึ้นมา
เหมือนลัทธิคลั่งชาติ ดังนั้น คนศาสนานี้จึงเป็นพวกเหยียดศาสนา นั้นเอง
คนศาสนาอื่น ทำชั่ว ไม่ได้อ้างคำสอนศาสนา ไม่เกี่ยวกับศาสนา
แต่มุสลิมหัวรุนแรง ทำชั่ว โดยอ้างคำสอนญีฮาด มันเลยเกี่ยวกับศาสนา
ถ้ามุสลิมโดนด่าจนโมโหแล้วไปยิงคนตาย ด้วยเหตุผลส่วนตัว ไม่มีใครเค้าด่าศาสนาหรอก เค้าด่าคนที่ยิง
แต่ถ้ามุสลิม คิดเอาเองว่า อิสลามโดนรังแก เลยใช้ญีฮาด ไปไล่ฆ่าคนต่างศาสนา แบบนี้ คนจะด่าศาสนาด้วย
เหมือนกลุ่มมุสลิมพวกก่อการร้ายแบ่งแยกดินแดน ใช้ในการปลุกระดม ก่อตั้งนักรบศาสนาขึ้น
ชื่อมันก็บอกเองอยู่แล้วว่า กองทัพมุสลิม หรือกองทัพนักรบอิสลาม
แต่ มันไม่มี กองทัพพุทธ นัรบพุทธ กองทัพคริสต์ นักรบคริสต์ ในปัจจุบันนี้แล้ว ยกเว้นอิสลาม 

ปัญหาคือ มุสลิมเองยังไม่รู้ตัวว่า ศาสนาตัวเองมีข้อผิดพลาด และ รวมความเป้นรัฐเข้าไปในศาสนา
จึงเกิดพวกมุสลิมหัวรุนแรงเหยียดศาสนาขึ้น เหมือนพวกเเหยียดเชื้อชาตินั้นเอง
ดงันั้น มุสลิมจึงไม่สามารถแยกแยะการฆ่าที่เกิดจากศาสนา การฆ่าที่เกิดจากเชื้อชาติ
หรือการฆ่าที่เป้นเรื่องส่วนตัวได้เหมือนคนศาสนาอื่น ที่ไม่มีคำสอนให้ตอบโต้ และแยกรัฐออกจากศาสนา
และถ้าพระทำผิดพระวินัย ก็มีบทลงโทษชัดเจน
ถ้าพระไปฆ่าคน ก็ขาดจากความเป้นพระ
ในทางตรงข้าม มุสลิมไปไล่ฆ่าเค้า โดยใช้คำสอนของอิสลามมาปลุกระดม
ฆ่าคนก็ไม่ขาดจากความเป้นมุสลิม ไม่ตกศาสนา ไม่โดนลงโทษ
มีแต่จะได้รางวัล ที่ฆ่าพวกกาเฟรได้ ตายไปได้นางฟ้าเป้นเมียอีก
เนียละ ปัญหาของมุสลิม ที่แยกไม่ออกระหว่าง
หน้าที่ของรัฐ(ชาติ) กับ หน้าที่ของศาสนา
ศาสนาต้องมาคานอำนาจของรัฐ
เพื่อให้เกิดความสมดุล สงบสุข ไม่มีความรุนแรง
ไม่ใช่เอาศาสนาไปรวมกับรัฐ แบบอิสลาม

และการก่อความวุ่นวาย(ฟิตนะฮฺ)นั้นร้ายแรงยิ่งกว่าการประหัตประหารเสียอีก (อัลบะเกาะเราะฮฺ 191)และจงขับไล่พวกเขาออกจากที่ที่พวกเขาเคยขับไล่พวกเจ้าออกและจงประหัต ประหารพวกเขา ณ ที่ใดก็ตามที่พวกเจ้าพบพวกเขาเหล่านั้น ณ ที่ใดก็ตามที่พวกเจ้าพบเขา (อัตเตาบะฮฺ 5) ครั้นเมื่อบรรดาเดือนที่ต้องห้ามเหล่านั้นได้ผ่านพ้นไปแล้ว ก็จงทำสงครามกับผู้ตั้งภาคี (มุชริกีน)สำหรับบรรดาผู้ที่ถูกโจมตีนั้น ได้รับอนุญาตให้ต่อสู้ได้ เพราะพวกเขาถูกข่มเหง  (อัลฮัจย 39 )(ดูตัวอย่างในอัลบะเกาะเราะฮฺ 190,244 และ อัตเตาบะฮฺ 20,41,88)

ซึ่งในอัลกุรอานจะใช้คำว่า قِتاَلْ ซึ่งหมายถึงการสู้รบ และคำว่า    جِهاَد باِ لنَّفْسِซึ่งหมายถึงการญิฮาดด้วยชีวิตการทำสงครามนั้นเป็นเพียงรูปแบบหนึ่งในหลายรูปแบบของการญิฮาด ซึ่งมีวัตถุประสงค์อยู่ที่
การดำรงไว้ซึ่งศาสนาแห่งอัลลอฮ์ญิฮาดในสงครามครูเสด (พ.ศ. 1639 - 1827)
และสงครามตะบูก (พ.ศ. 1173)
สงครามคอนดัก (พ.ศ. 1170)
สงครามบนูกูรอยเซาะห์ (พ.ศ. 1170)
การทำสนธิสัญญาอัล อุดัยบิยะห์ (พ.ศ. 1171)
ญิฮาดในสมัยนบีมุฮัมมัด มีปรากฏในอัลกุรอ่าน 6 ครั้ง คือ
สงครามบะดัร (พ.ศ. 1167)
สงครามอุฮุด (พ.ศ. 1168)

ญิฮาดในประวัติศาสตร์ดังนั้น โองการแรก (ของคัมภีร์อัลกุรอาน) ที่ถูกประทานลงมาให้เริ่มทำการญิฮาด เพื่อต่อสู้ศัตรูด้วยอาวุธเพื่อปกป้องและต่อต้านการรุกรานของศัตรู และพิทักษ์รักษาชีวิตและศาสนาของอัลลอฮฺเมื่อบรรดาศัตรูได้รวมกำลังกันติดตามเพื่อที่จะดับรัศมีของอิสลาม จึงเป็นเหตุให้บรรดามุสลิมต้องจับอาวุธขึ้นต่อสู้ณ นครมะดีนะฮฺ (เมืองหลวงใหม่ของอิสลาม) ในปี ฮ.ศ. 2*

อัลลอฮฺได้บัญญัติให้มีการต่อสู้เป็นการตอบโต้การกดขี่ข่มเหงด้วยกำลังอาวุธเมื่อไม่มีทางแก้ไขอย่างอื่นญิฮาดมี 4 ประเภท และประเภทสุดท้าย คือการ ญิฮาดโดยอาวุธ


ตรรกะของคนศาสนานี้ มี ๓ ข้อ คือ
๑.ศาสนาของเราและพวกเรา ถูกต้องที่สุด สมบูรณ์ที่สุด
ศาสนาอื่นหรือพวกคนอื่น เป็นพวกคนบาป คนสกปรก เป็นชาวนรก
๒.ถ้าเจอข้อผิดพลาดในคำสอนของศาสนาเราหรือพวกเรากระทำความผิด ให้กลับไปอ่านข้อที่ ๑.และ ๒.
๓.ความผิดทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวกับศาสนาของเราหรือเกี่ยวกับพวกเรา ให้โทษว่าเราโดนกลั่นแกล้ง
โดนพวกยิว พวกอเมริกา พวกชีอะห์ พวกสยาม พวกกาเฟร ใส่ร้าย แล้วก็อนุญาตให้ใช้ความรุนแรงตอบโต้ได้เลย
ตามหลักคำสอนของศาสดาเรื่อง จีฮัด

ดังนั้น ผู้ต้องสงสัยที่เจ้าหน้าที่ บุกจับคุมตัวมาได้นั้น ส่วนใหญ่ จะมีประวัติคล้ายๆกันคือ
๑.เป็นครูสอนศาสนาอิสลามหรืออดีตครูสอนศาสนา ในพื้นที่เหตุความรุนแรง
๒.เคยไปเรียนศาสนามาจากประเทศอิสลามต่างๆ เช่น ซาอุ ปากี อินโดนิเชีย หรือ มาเล
๓.มีชาติพันธุ์เป็นคนท้องถิ่นเดิม

ปล.ถ้าจะบอกว่าทหารสร้างสถานการณ์ แต่ไอ้พวกที่จับๆมา ทำไมมีแต่คนศาสนานี้ทั้งนั้น
แล้วประเทศอื่นๆที่มีพวกมุสลิมก่อการร้ายหรือแบ่งแยกดินแดนเหมือนไทย
เช่น ฟิลิปปินส์ อินเดีย พม่า จีน อเมริกา ฝรั่งเศส เยอรมัน เคนย่า มาลี ไนจีเรีย ๆลๆ พวกนั้นก็สร้างสถานการณ์ด้วยหรือ ?
ตรรกะแบบนี้ ถ้ามีโรคระบาด ก็โทษว่าหมอสร้างสถานการณ์ อยากขายยา อยากได้เงินรักษาคนป่วย อยากขายวัคซีน แบบนั้นหรือ ?

ปล.๒ วิธีแก้ปัญาหามุสลิมแบ่งแยกดินแดนหรือก่อการร้าย มี ๒ แนวทาง คือ

๑.ตัดไฟแต่ต้นลม และ ปราบปรามให้เด็ดขาด แบบพม่า หรือศรีลังกา หรือจีน ซึ่งทั้ง ๓ ประเทศใช้นโยบายนี้ได้เพราะ ทั้ง ๓ ประเทศ
เคยถูกรุกรานโดยมุสลิมในยุคอินเดียโดนบุก หรือพวกคริสต์ในยุคล่าอาณานิคม จึงเกิดการเรียนรู้ที่จะปกป้องตัวเอง และทั้ง ๓ ประเทศ
ไม่เน้นการค้าขายกับพวกประเทศมุสลิมอยู่แล้ว ยกเว้นจีนที่ปราบอุยกูร์เด็ดขาดเพราะจีนเป็นประเทศมหาอำนาจ

๒.ใช้เงินเข้าล่อ พัฒนาพื้นที่ให้เจริญ ให้มุสลิมบางส่วนกลับมาให้ความร่วมมือกับรัฐ แบบไทย หรือฟิลิปปินส์ หรือจีน ซึ่งทั้ง ๓ ประเทศ
ใช้นโยบายนี้เพราะเป้นประเทศที่ต้องยังค้าขายเกียวข้องกับกลุ่มประเทศมุสลิมอยุ่ และดำเนินนโยบายความเป็นกลางทางศาสนานั้นเอง

ที่มา
http://pantip.com/topic/35085777






Monday, December 21, 2015

พระพุทธรักขิตาภิกขุ อดีตชาวคริสต์ยูกันดา

14/03/2013

พุทธรักขิตาภิกขุ กับการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในแอฟริกา (ตอนที่ 1)


เรียบเรียงโดย
คุณ สุภาศิริ อมาตยกุล

หน้าปกหนังสือ Planting Dhamma Seeds แต่งโดยพระพุทธรักขิตาภิกขุ เอง 
บทความนี้เป็นเรื่องราวที่ถ่ายทอดชีวิตและประสบการณ์จริงของพุทธรักขิตาภิกขุ พระสงฆ์ชาวแอฟริกันรูปแรกในพระพุทธศาสนาและขณะนี้ก็ยังเป็นเพียงรูปเดียวของโลก พระพุทธรักขิตามีความสนใจในคำสอนของพระพุทธศาสนามานาน ได้จากบ้านเกิดเมืองนอนไปอยู่ประเทศต่างๆ แสวงหาหนทางของชีวิต จนได้บวชเป็นพระภิกษุในปีค.ศ. 2002 จากนั้นท่านกลับไปยูกันดาเพื่อหามารดาและญาติพี่น้อง โดยกลับไปในฐานะพระภิกษุและพระธรรมทูตในพระพุทธศาสนา ท่านต้องฟันฝ่าปัญหาอุปสรรคต่างๆ ตลอดจนความไม่เข้าใจแม้แต่จากชุมชนท้องถิ่นและญาติพี่น้อง แต่ในที่สุดท่านสามารถสร้างความเข้าใจให้เกิดขึ้นได้ และจัดตั้งศูนย์พระพุทธศาสนาขึ้นที่กรุงกัมปาลา (Kampala) นครหลวงของประเทศยูกันดา (Uganda) เมื่อปีค.ศ. 2005
คำนำ
บทความนี้ได้รับแรงบันดาลใจจากคำเรียกร้องมากมายของผู้ที่อาตมาพบในแอฟริกา อเมริกา และเอเชีย พวกเขาถามอาตมาด้วยคำถามที่น่าสนใจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและพระสงฆ์อยู่เสมอ บางครั้งอาตมาได้แต่ตอบพวกเขาไปอย่างสั้นๆ เนื่องจากส่วนใหญ่แล้วไม่มีเวลามากพอที่จะตอบได้อย่างครบถ้วน
มีคนถามอาตมาอยู่ตลอดว่า อาตมานับถือศาสนาอะไรก่อนจะบวชเป็นพระ เรียนทำสมาธิจากที่ไหนในยูกันดา บวชได้อย่างไรในยูกันดาทั้งๆ ที่ไม่มีวัดเลย ใครคือแรงบันดาลใจให้ออกบวช ทำไมจึงบวชเป็นพระ การจะบวชต้องทำอย่างไรบ้าง อาตมามีวัดเป็นของตัวเองในยูกันดาหรือไม่ ครอบครัว (โยมแม่) ของอาตมารู้สึกอย่างไรที่อาตมาบวช คนแอฟริกันคิดอย่างไรกับอาตมาในฐานะพระสงฆ์ เป็นต้น
เป็นเรื่องยากที่จะทำให้หนังสือเล่มนี้ไม่เป็นอัตชีวประวัติ แต่ถ้าดูเหมือนจะเป็นเช่นนั้นก็ขอให้ผู้อ่านอดทนสักหน่อยเถิด ด้วยจุดประสงค์หนึ่งเดียวของอาตมาคือการพยายามอธิบายให้เห็นถึงพัฒนาการของพระพุทธศาสนาในแอฟริกา โดยเฉพาะในยูกันดา เป็นปณิธานของอาตมาที่ว่าหนังสือเล่มนี้จะช่วยตอบคำถามของท่านทั้งหลาย และเป็นแรงผลักดันให้ท่านก้าวไปข้างหน้าสำหรับการเดินทางในโลกแห่งธรรมะ
“เป็นการยากกว่าจะได้เกิดเป็นมนุษย์ การดำรงชีวิตเป็นเรื่องยากลำบาก เป็นเรื่องยากที่จะได้เกิดมาพบพระธรรม การเกิดขึ้นของพระพุทธเจ้าเป็นสิ่งที่หาได้ยากยิ่ง”
ธรรมบท: 182
ตอน 1: ครั้งแรกที่รู้จักพระพุทธศาสนา
ชาติกำเนิด
ชื่อเดิมของอาตมาคือสตีเว่น คาบอคโกซา (Steven Kaboggoza) เกิดเมื่อปีค.ศ.1966 ในครอบครัวชาวคริสต์ ณ กรุง กัมปาลา ประเทศยูกันดา ทางตะวันออกของทวีปแอฟริกา ยูกันดามีพรมแดนทางเหนือติดกับประเทศซูดาน(Sudan) ตะวันตก ติดกับคองโก(Congo) และใต้ติดกับรวันด้า(Rwanda) ส่วนทิศตะวันออกเฉียงใต้ติดทะเลสาบวิคตอเรีย (Lake Victoria) แทนซาเนีย (Tanzania) และเคนยา (Kenya) ยูกันดาเป็นประเทศเล็กๆ ยากจน ประชากรมีความซับซ้อนเพราะประกอบขึ้นด้วยหลายชนเผ่า หนึ่งในนั้นคือ บูกันดา (Buganda) ประเทศถูกแบ่งแยกอันเป็นผลจากสงครามและเผด็จการทรราชที่กินเวลานานหลายปี สิทธิเสรีภาพถูกจำกัด แต่ในความน่าเศร้านั้นยังมีข้อดีอยู่บ้าง เซอร์วินสตัน เชอร์ชิล (Sir Winston Churchill) นายกรัฐมนตรีอังกฤษได้เคยกล่าวไว้ว่า “เพราะความสวยงามและสีสันอันหลากหลาย อีกทั้งสิ่งมีชีวิต พืช นก แมลง สัตว์เลื้อยคลาน และสัตว์ป่าที่มีจำนวนมากมายมหาศาล ทำให้ยูกันดาคือ ไข่มุกแห่งแอฟริกา อย่างแท้จริง”
“คนที่นั่ง พักผ่อน เดินอยู่คนเดียว ด้วยความพากเพียรในการฝึกตน ผู้ซึ่งสามารถควบคุมตัวเองได้เมื่ออยู่เพียงลำพัง ผู้นั้นย่อมพานพบความผาสุขแม้ในป่าใหญ่”
ธรรมบท : 305
วัยเด็ก
เมื่ออาตมาเป็นเด็ก ในยูกันดาไม่มีใครรู้จักพระพุทธศาสนา เพราะศาสนาหลักคือคริสต์และอิสลาม ในยูกันดาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในครอบครัวอาตมา การไม่เคารพพระเจ้ามักจะถูกมองว่าเป็น “แกะดำ” หรือ “มิตรของปีศาจ”
บทเรียนการทำสมาธิบทแรกอย่างไร้แบบแผนในยูกันดา
ตอนอาตมาอายุห้าปี โยมแม่ซึ่งเป็นคนใจกว้าง สุภาพ อ่อนน้อมถ่อมตน และมีอิทธิพลอย่างมากกับชีวิตของอาตมา ได้ยอมรับความแตกต่างของเราสองคนอย่างง่ายดาย ท่านไม่พยายามเปลี่ยนแปลงลูกๆให้เป็นอย่างที่ท่านต้องการโดยเฉพาะในเรื่องความเชื่อทางศาสนา โยมแม่มีความปราดเปรื่องตามธรรมชาติในแบบของท่านเอง
โยมแม่บอกอาตมาอยู่เสมอ “ถ้าไม่มีอะไรจะพูด จงเงียบ ถ้าไม่มีอะไรจะทำ ก็ไปนอนเสีย” คำสั่งสอนสองข้อนี้เข้ากับลักษณะนิสัยของอาตมาอย่างยิ่ง อาตมาไม่ชอบนอนกลางวัน แต่เมื่อไม่มีอะไรจะทำ โยมแม่จึงบังคับให้นอน โชคไม่ดีที่อาตมามักจะหลับไม่ค่อยลง จึงนอนพลิกตัวไปมาอยู่บนเตียง ในที่สุดก็นอนตื่นอยู่อย่างนั้นปล่อยให้ความคิดโลดแล่นไป พร้อมกับเฝ้าดูโยมแม่ซึ่งสามารถหลับได้อย่างรวดเร็ว เมื่อคิดย้อนกลับไป เข้าใจว่าในเวลานั้นอาตมาไม่มีวัตถุสำหรับกำหนดจิตในการทำสมาธิ แต่นั่นไม่ใช่วิธีง่ายที่สุดในการทำสมาธิหรอกหรือ หมายถึงการอยู่อย่างสงบเงียบ เฝ้าดูความคิดต่างๆ ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป
โดยส่วนตัวแล้ว อาตมาคิดว่าได้รับบทเรียนที่มีค่ายิ่งในการทำความคุ้นเคยที่จะอยู่กับความเงียบและความว่างเปล่า คงเป็นประโยชน์มากทีเดียวถ้าในเวลานั้นมีคนสอนวิธีทำสมาธิขั้นสูงให้อาตมา แล้วการทำสมาธิแบบที่ว่านั้นจะหาได้จากไหนกัน...
เมื่ออยู่ชั้นประถม อาตมาชอบไปโรงเรียนทุกวันอาทิตย์ซึ่งจะมีการร้องเพลงและเล่านิทาน แต่ภายหลัง การเข้าโบสถ์ได้กลายเป็นหน้าที่ที่ต้องกระทำ อาจารย์ใหญ่ของโรงเรียนเป็นคนเลื่อมใสและเคร่งครัดในศาสนาของท่านมาก ท่านติดตามจดบันทึกว่าใครมาหรือไม่มาเข้าโบสถ์บ้าง การไม่เข้าโบสถ์จะนำไปสู่การลงโทษบางอย่าง วิธีการเช่นนี้ทำให้เกิดการต่อต้านขึ้น ทีละเล็กละน้อยในใจของอาตมา
ช่วงวัยรุ่น โรงเรียนประจำนิกายแคธอลิคได้อบรมสั่งสอนอาตมาในแนวทางแบบศาสนาคริสต์ ในยูกันดาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในครอบครัวอาตมา การไม่เคารพพระเจ้ามักจะถูกมองว่าเป็น“แกะดำ”หรือ“มิตรของปีศาจ” อาตมาเริ่มเกิดความสงสัยว่าจุดประสงค์ของการไปโบสถ์นั้น เป็นไปเพื่อให้ผู้อื่นพึงพอใจหรือเพื่อพัฒนาจิตใจกันแน่ มันคงจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งทีเดียวถ้าในตอนนั้นมีใครสักคนหนึ่งสอนวิธีปฏิบัติวิปัสสนาอย่างลึกซึ้งให้กับอาตมา ช่วงวัยนั้นเอง ในความทรงจำลางๆที่พอจะจำได้คืออาตมาเคยเรียนเกี่ยวกับชาวอินเดียคนหนึ่งที่ชื่อโคตมะ (ชื่อราชศากยวงศ์ของเจ้าชายสิทธัตถะ) พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพียงเท่านั้นที่อาตมารู้ โดยรู้เท่าๆ กับคนแอฟริกันทั่วไป
“นี่คือชีวิตทั้งหมดในทางจิตวิญญาณ อานนท์ หมายถึงการมีกัลยาณมิตร เมื่อพระรูปหนึ่งมีกัลยาณมิตรแล้ว ย่อมคาดหวังได้ว่าท่านผู้นั้นจะพัฒนา และเข้าถึงมรรค ๘ ในที่สุด”
- พระสัมมาสัมพุทธเจ้า (SN 45:2)
เติบโตเป็นผู้ใหญ่ และได้พบพระสงฆ์ในพุทธศาสนา
ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1990 อาตมาเดินทางไปศึกษาต่อด้านบริหารธุรกิจที่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในประเทศอินเดีย ซึ่งภายหลังได้กลายเป็นการไปศึกษาพระพุทธศาสนาแทน มีนักศึกษาต่างชาติชาวแอฟริกันและเอเชียอยู่ไม่กี่คน ในจำนวนนั้นมีพระสงฆ์สองรูปจากประเทศไทย อาตมารู้สึกใกล้ชิดกับพระสองรูปนี้และมีเพียงท่านทั้งสองที่เป็นเพื่อนของอาตมา ทั้งสองท่านก็รู้สึกเช่นเดียวกัน ท่านไม่ได้สอนอาตมาเรื่องการทำสมาธิในทันที แต่ค่อยๆ แนะนำทีละเล็กละน้อยเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ท่านมีน้ำใจพาอาตมาไปที่ตลาดท้องถิ่นและยังแบ่งปันอาหารให้อีกด้วย ในตอนนั้นอาตมาไม่ทราบธรรมเนียมปฏิบัติของศาสนาพุทธ อาตมาต่างหากที่ควรเป็นฝ่ายถวายภัตตาหารแด่ท่านทั้งสอง
เดือนพฤศจิกายนปีเดียวกัน ท่านสันสิติ (Sandsiti) พระหนึ่งในสองรูปชวนอาตมาให้ไปกับท่านที่วัดเล็กๆ แห่งหนึ่งแถวชานเมืองจัณฑีครห์ (Chandigarh) เมืองหลวงของรัฐปัญจาบ (Punjab) ซึ่งเป็นที่พำนักของพระสงฆ์ชาวอินเดีย เป็นครั้งแรกที่อาตมาได้เข้าร่วมพิธีกรรมของศาสนาพุทธ
อาตมาเห็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่แต่ก็ไม่ได้เข้าใจถึงความสำคัญ เมื่อเวลาผ่านไปอาตมาเริ่มมีความสนใจมากขึ้นในคำสอนของพระพุทธเจ้า อาตมาเคารพชื่นชมพระสงฆ์เหล่านี้ด้วยใจจริง สิ่งต่างๆ ที่ท่านปฏิบัติสัมผัสความรู้สึกเมตตา กรุณา ซาบซึ้งในส่วนลึกของจิตใจอาตมา ระหว่างช่วงวันหยุดที่ท่านทั้งสองเดินทางกลับประเทศไทย อาตมาคิดถึงพวกท่านอย่างมาก ถามตัวเองว่าอาตมาจะไปพบพระสงฆ์รูปอื่นๆได้ที่ไหน
“บุคคลควรเจริญรอยตามผู้เจริญผู้ซึ่งแน่วแน่ ปราดเปรื่อง ใฝ่รู้ รับผิดชอบต่อหน้าที่ และเสียสละทุ่มเท บุคคลควรเจริญรอยตามผู้ซึ่งถึงพร้อมด้วยความดีดุจพระจันทร์โคจรตามเส้นทางของดวงดาว”
ธรรมบท : 208
สายสัมพันธ์พิเศษกับองค์ดาไลลามะ
ช่วงวันหยุดภาคฤดูร้อน อาตมายังคงตามหาเพื่อนชาวพุทธ อาตมาขึ้นรถเมล์รอบกลางคืนเพื่อไปยังธรรมศาลา (Dhammasala) ซึ่งเป็นที่ประทับขององค์ดาไล ลามะ อาตมาคิดในใจ ‘ประเทศนี้ช่างดีจริงๆ กลางคืนก็ยังเดินทางได้’ ขณะที่ยูกันดานานมากแล้วที่เราไม่สามารถเดินทางไปไหนมาไหนได้ในเวลากลางคืนเนื่องจากสงครามและปัญหาทางการเมือง แต่ที่นี่อาตมารู้สึกได้รับอิสรภาพอีกขั้นหนึ่ง เป็นการนั่งรถที่ยาวนานมากในรถ “มะม่วงเชค” (รถโดยสารเก่าคร่ำครึราคาถูก)ไปยังธรรมศาลาที่ตั้งอยู่เชิงเขาหิมาลัย การเดินทางน่าตื่นตาตื่นใจจนอดสงสัยไม่ได้ว่าเป็นความจริงหรือแค่ฝันไป เป็นสิ่งที่อาตมา ไม่สามารถจินตนาการว่าจะทำเช่นนี้ได้หากอยู่ในยูกันดา เป็นความรู้สึกเหมือนครั้งแรกที่อาตมารู้จักกับธรรมะ คำสอนในพระพุทธศาสนาว่า “เราได้พบกับสิ่งที่นำอิสรภาพมาให้”
วันหนึ่ง อาตมาไปร่วมในการออกพบปะสาธรณชนขององค์ดาไล ลามะ โดยมีชาวตะวันตกอีกนับร้อยคนที่ไปรอถวายความเคารพแด่ท่านที่ธรรมศาลา คนผิวสีคนเดียวจากแอฟริกาท่ามกลางคนขาวจากทั่วทุกมุมโลก อาตมาจึงโดดเด่นเป็นที่สังเกต เห็นได้โดยง่าย อาตมามีความสุขมากที่ได้อยู่ใกล้ชิดกับองค์ดาไล ลามะ ยิ่งกว่านั้นยังโชคดีได้จับมือกับท่านอีกด้วย ท่านให้พรกับอาตมา ซึ่งอาตมาสัมผัสได้ถึงรังสีแห่งความอ่อนโยนเปี่ยมด้วยความรักความเมตตาที่นำความสงบสดชื่นมาสู่จิตใจ อาตมามีแรงบันดาลใจเต็มเปี่ยมเมื่อได้ฟังท่านสอนธรรมะ ท่านแสดงความอาทรและความรู้ในธรรมะแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อาตมาบอกกับตัวเองว่า “ที่นี่คือบ้าน บ้านทางจิตวิญญาณของอาตมาอยู่ที่ธรรมศาลานี่เอง” อาตมาตัดสินใจที่จะใช้วันหยุดทั้งหมดที่มีในปีต่อๆ มา ณ ที่แห่งนี้
การเดินทางเข้าสู่พระพุทธศาสนาเริ่มขึ้นเมื่อพบกับพระสงฆ์ในอินเดีย อาตมาได้รับการจูงใจอย่างแรงกล้าจากเพื่อนสนิทที่สนใจเรื่องเดียวกัน และได้พบแนวคำสอนเพื่อเข้าถึงความสุขที่สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง ตัวอย่างเช่น มรรคมีองค์ 8 คำสอนเรื่องกรรม (การกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา) ที่ให้ความสำคัญต่อความรับผิดชอบในการกระทำของตน เหล่านี้คือสิ่งที่ ทำให้อาตมาหูตาสว่าง ภายหลังอาตมาได้เรียนรู้เกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่จะเข้าถึงพระนิพพาน
คำสอนเหล่านี้น่าสนใจเป็นอย่างมาก เป็นอิสรภาพที่ยิ่งใหญ่ การศึกษาทางวิชาการในประเทศอินเดียที่สุดได้กลายมาเป็นการศึกษาทางจิตวิญญาณ
“ผู้เข้าใจผิดในสิ่งไม่เป็นสาระว่าเป็นสาระ ในสิ่งที่เป็นสาระว่าไม่เป็นสาระ เป็นผู้มีความเห็นผิด จะไม่สามารถเข้าถึงสาระที่แท้จริง ผู้เข้าใจสิ่งที่เป็นสาระว่าเป็นสาระ และไม่เป็นสาระว่าไม่เป็นสาระ เป็นผู้มีความเห็นชอบ ย่อมเข้าถึงสิ่งที่เป็นสารัตถะแท้จริง”
ธรรมบท : 11-12
แสวงหาอาจารย์ทางจิตวิญญาณ
มีวัฒนธรรมประเพณีที่เกี่ยวกับเรื่องทางจิตวิญญาณมากมายในอินเดีย: ศาสนาฮินดู ศาสนาซิกซ์ ศาสนาอิสลาม ศาสนาคริสต์ ศาสนาพุทธ เป็นต้น แรงจูงใจที่นอนนึ่งอยู่ภายในได้ผลักดันให้อาตมาออกตามหา “บางสิ่ง” แต่ในตอนนั้น “บางสิ่ง” ที่ว่ายังคงคลุมเครือ อาตมาจึงเปิดใจกว้างศึกษาศาสนาต่างๆ เช่น ได้เข้าร่วมกลุ่มที่ศูนย์รวมศรัทธาศาสนาบาไฮ (Baha’i Faith Centre) ในจัณฑีครห์ หรือเข้าร่วมกับกลุ่มกูรุส (Gurus) และสวามิส (Swamis) ที่สร้างความประทับใจให้เป็นอย่างยิ่ง
อาตมาศึกษาเรื่องจิตและฝึกทำสมาธิกับวิมาลา ทาการ์ (Vimala Thakar) ความมหัศจรรย์ของเธอมากเกินกว่าจะบรรยายออกมาเป็นตัวหนังสือ เธอเป็นคนโอบอ้อมอารี อาตมาเลื่อมใสเธออย่างมากในเรื่องนี้ วิมาลาบอกกับอาตมาว่าเธอไม่ได้นับถือศาสนาพุทธแต่ก็ให้ความนับถืออย่างมากต่อพระพุทธเจ้า เธอสอนสมาธิสำหรับใช้ในชีวิตประจำวันและประกอบกิจกรรมต่างๆ ทั้งยังให้ความสำคัญเป็นอย่างมากกับความสงบ เธอแนะให้เรานำตัวเองไปใกล้กับธรรมชาติให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้เพื่อประโยชน์ในการเข้าใจจิตใจของตัวเราเอง เป็นการทำให้ร่างกายและจิตใจของเราอ่อนโยน กระฉับกระเฉง และเฉียบคมอยู่เสมอ อาตมารับจดจำคำสั่งสอนนี้ไว้ด้วยหัวใจ
“สมาธิเป็นบาทฐานของปัญญา หากปราศจากสมาธิแล้ว ปัญญาย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ ความเข้าใจการเพิ่มขึ้นและลดลงนี้ จะทำให้บุคคลสามารถประพฤติตนเพื่อเป็นไปในทางก้าวหน้าของปัญญา”
ธรรมบท : 282
สำนักวิปัสสนาที่ยอดเยี่ยมในทิเบต
ในที่สุดโอกาสอันชัดเจนก็มาถึง ในปี ค.ศ. 1994 วัดธุสิตา(Tusita) แห่งธรรมศาลาได้จัดอบรมการฝึกวิปิสสนาเป็นเวลา 12 วัน โดยคนสอนเป็นผู้เชี่ยวชาญการทำสมาธิชาวอเมริกันชื่อ ดร.อเล็กซ์ เบอร์ซิน(Alex Berzin) ระหว่างการอบรม ท่านถ่ายทอดหลักสำคัญเบื้องต้นของพระพุทธศาสนาและขั้นตอนพื้นฐานสำหรับการทำวิปัสสนา เริ่มจากการสังเกตเจตนารมณ์ของเราในทุกสิ่งที่กระทำ ระหว่างการอบรมอาตมาได้เรียนรู้ว่าการสำรวจเจตนาแท้ที่จริงก็คือการมีสติสมบูรณ์ของจิตใจ นี่คือการเดินทางเข้าไปค้นพบตัวตนภายใน
หลังการฝึกครั้งนี้ อาตมาเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง การฝึกวิปัสสนาช่วยสร้างศรัทธาในคำสอนของพระพุทธเจ้า อาตมาออกจากมหาวิทยาลัยและเลือกเส้นทางการแสวงหาทางจิตวิญญาณโดยเข้าร่วมกับเพื่อนในกรุงนิวเดลี (New Dehli) ที่ซึ่งอาตมายังคงฟังบรรยายเรียนรู้เกี่ยวกับจิต ฝึกวิปัสสนา และอ่านหนังสือธรรมะ คำสอนเรื่องความเมตตา กรุณาและปัญญาได้จุดประกายให้อาตมา รวมทั้งคำสอนเรื่องกรรมโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เน้นความรับผิดชอบในการกระทำของตนซึ่งจะก่อให้เกิดผลอย่างใด อย่างหนึ่งในชีวิตตามมา (เปรียบเทียบเช่นการกระทำอย่างหนึ่งที่มีผลกระทบไม่ว่าจะในทางดีหรือร้ายต่อสิ่งภายนอก) อาตมาได้เรียนรู้ถึงความเป็นไปได้ของชีวิตที่จะบรรลุนิพพานซึ่งเป็นสภาพที่อยู่เหนือกว่าสวรรค์ขึ้นไปอีก อาตมาประทับใจคำสอนเหล่านี้เป็นอย่างมาก
หลังจากใช้ชีวิตร่วมกับหมู่สงฆ์ในนิวเดลีเป็นเวลาหนึ่งปี อาตมาจึงออกแสวงบุญจากอินเดียไปยังเนปาล ทิเบต และสุดท้ายมาจบที่ที่ประเทศไทย เคยได้ยินเรื่องหนึ่งพันความสุขหนึ่งพันความเศร้าไหม อาตมาเรียนรู้เรื่องนี้ระหว่างการเดินทาง
“ความสุข ความพอใจใดๆ ที่มี เป็นความพึงพอใจทางโลก สำหรับพระสงฆ์ทั้งหลาย ความพึงใจในทางโลกนั้นไม่มี จึงไม่เกิดความยึดติด แต่เพราะสิ่งในโลกมีนั้นน่าพึงใจ คนจึงหลงไปยึดถือเอา”
AN 3 : 101-2
แสวงหาความพึงพอใจทางโลก
ภาพถ่ายในช่วงที่พระพุทธรักขิตาภิกขุประกอบอาชีพครูสอนดำน้ำ ที่เกาะเต่า ประเทศไทย
ช่วงเวลาแห่งความสุข
หลังจากอยู่ในทิเบตเป็นเวลาหนึ่งเดือนครึ่ง นักท่องเที่ยวชาวอังกฤษคนหนึ่งแนะนำให้เดินทางมาประเทศไทย อาตมาเริ่มการเดินทางด้วยการกลับไปเนปาลก่อน จากนั้นจึงมุ่งหน้าไปยังเกาะสวยที่มีชื่อว่าเกาะเต่า ทางตอนใต้ของไทย ตอนนั้นอาตมาต้องหางานทำ จึงตัดสินใจหัดดำน้ำเพิ่มเติมจนกระทั่งเรียนจบถึงขั้นที่เป็นผู้ฝึกสอนได้ อาตมาจึงกลายมาเป็นครูสอนดำน้ำ มันออกจะตลกอยู่บ้างที่มีผู้ยินดีจ่ายสตางค์ให้ได้ทำในสิ่งสนุกสนานเช่นนี้ แล้วอาตมาก็ติดอยู่กับการเป็นครูสอนดำน้ำ มันเป็นงานที่สนุกมากจริงๆ แต่ในเวลาเดียวกันอาตมาก็มองหาช่องทางที่จะศึกษาและฝึกฝนวิปัสสนาระดับสูงไปด้วย ทว่าสถานการณ์ยังไม่สุกงอมเพียงพอให้อาตมาเข้าร่วมการฝึกอบรมอย่างจริงจัง ในทางกลับกันอาตมากลับได้เรียนรู้ความรื่นรมณ์หอมหวานของชีวิตครูสอนดำน้ำ แต่ละวันผ่านไปมีนักเรียนฐานะดีจากทั่วทุกมุมโลกมาเรียนกับอาตมา แต่เมื่อนานเข้าอาตมาก็เริ่มหมดสนุกกับงานและความสุขที่เคยได้รับ มันเป็นไปได้อย่างไรกัน?
“ความสุขจากผัสสะต่างๆไม่มีทางจะปรนเปรอให้พอใจได้ แม้ฝนจะตกลงมาเป็นเงินเป็นทอง การได้สนองตัณหามอบความสุขให้เพียงเล็กน้อย แต่มาพร้อมกับความทุกข์อันใหญ่หลวง เมื่อเข้าใจสิ่งนี้ ผู้มีปัญญาย่อมไม่ปรารถนาความสุขในลักษณะนี้แม้กระทั่งบนสรวงสวรรค์ ผู้ศรัทธามั่นในพระพุทธเจ้าย่อมยินดีในความสุขที่เกิดจากการดับลงของตัณหา”
ธรรมบท : 186-87
ช่วงไม่มีความสุข
ก่อนหน้านี้อาชีพครูสอนดำน้ำนำความสุขและข้อดีต่างๆ เข้ามามากมาย แต่หลังจากนั้นอาตมารู้สึกเบื่อหน่ายหดหู่ที่ต้องเห็นนักท่องเที่ยวคนแล้วคนเล่าผ่านเข้ามาแล้วก็ลาจากไป รวมไปถึงรีสอร์ทราคาแพงที่คล้ายจะสงวนไว้สำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มีสตางค์เท่านั้น อาตมาจึงเริ่มรู้สึกไม่มีความสุขกับชีวิตครูสอนดำน้ำและเริ่มเข้าใจถึงอันตรายของมัน หลังตื่นจากมายาภาพแห่งโลกธุรกิจ อาตมาจึงลาออก เดินทางจากประเทศไทยกลับไปยังบ้านเกิดในแอฟริกา เมื่อภายหลังมีชายคนหนึ่งทราบเรื่องที่อาตมาละทิ้งชีวิตอันแสนสุขสบายในรีสอร์ทหรูบนเกาะ เขาคิดว่าอาตมาคงเสียสติไปแล้วและบอกว่าอาตมาควรจะไปพบจิตแพทย์ แต่เดี๋ยวก่อน...ถ้าอาตมาไม่ได้ออกจากเมืองไทยในตอนนั้น อาตมาอาจจะอยู่ที่นั่นเมื่อคลื่นสึนามิพัดถล่มเกาะพีพี เกือบทั้งเกาะเมื่อปี ค.ศ. 2004 มีคนเสียชีวิตมากมาย ณ จุดที่อาตมาเคยดำน้ำอยู่ เป็นความโชคดีของอาตมาที่ออกจากเกาะกลับไปแอฟริกาก่อนหน้าเหตุการณ์นั้น
“อย่ายึดติดในสิ่งที่น่ารัก และอย่ายึดมั่นในสิ่งที่น่าชัง การขาดสูญของสิ่งอันเป็นที่รัก และการปรากฏของสิ่งอันเป็นที่ชัง เป็นทุกข์ทั้งคู่ ดังนั้น จงอย่ายึดถือสิ่งใดว่าเป็นของรัก เพราะการพลัดพรากจากสิ่งนั้นย่อมนำมาซึ่งความทุกข์ ความอาวรณ์ไม่มีกับผู้เข้าใจว่าทุกสิ่งไม่ควรยึดถือเอา ทั้งสิ่งที่จะทำให้รัก และสิ่งที่จะทำให้ชัง”
ธรรมบท : 210-211
สวัสดีและลาก่อน บ้านเกิดเมืองนอนแอฟริกา
รวมเวลาได้เจ็ดปีที่อาตมาเดินทางจากแอฟริกามา เป็นการเดินทางยาวนานที่เปี่ยมไปด้วยสีสันไม่อาจคาดเดา เต็มไปด้วยจุดหักเหพลิกผัน อาตมาตื่นเต้นมากกับการกลับไปเยี่ยมบ้านครั้งนี้ อารมณ์พลุ่งพล่านทันทีที่เครื่องบินลงจอด ณ ท่าอากาศยานเอ็นเท็บเบ้ (Entebbe) ในที่สุดก็กลับมาบ้าน ทุกอย่างดูคุ้นตาแต่ขณะเดียวกันก็แตกต่างไปจากเดิมอย่างบอกไม่ถูก
ทันทีที่ถึงบ้าน รู้สึกได้ว่าเพื่อนๆ ญาติๆ ต่างตั้งความหวังว่าอาตมาจะกลับมาในฐานะนักธุรกิจผู้ร่ำรวยประสบความสำเร็จ ถือกระเป๋าเอกสารอยู่ในมือข้างหนึ่ง แต่เปล่าเลย อาตมาอยู่ในฐานะของโยคีหัวโล้นชาวพุทธธรรมดาผู้ที่ในกระเป๋ามีอุปกรณ์ดำน้ำกับหนังสือธรรมะอยู่หลายเล่ม ทุกคนต่างไม่เข้าใจว่าอาตมานำสองสิ่งนี้กลับมายังแอฟริกาทำไม ในยูกันดาไม่มีวัดหรือครูสอนศาสนาพุทธแม้แต่คนเดียว แล้วก็ไม่มีทะเลให้ดำน้ำด้วย
ญาติๆ หลายคนเสนอที่จะฆ่าแกะหรือไก่เพื่อนำมาทำอาหารเลี้ยงต้อนรับเป็นการให้เกียรติการกลับมาของอาตมา แต่อาตมาไม่อนุญาติเพราะไม่อยากให้สัตว์ตัวไหนต้องถูกฆ่าเพราะอาตมา
ทุกคนพยายามจะเปลี่ยนให้อาตมากลับไปนับถือศาสนาคริสต์อีกครั้ง แต่ตอนนั้นอาตมามีความเลื่อมใสหนักแน่นในคำสอนของพระพุทธเจ้าเสียแล้ว ญาติห่างๆ บางคนถึงกับแนะให้อาตมาเผาหนังสือธรรมะทิ้งเสียให้หมดแล้วหันกลับมาอ่านคัมภีร์ไบเบิ้ล (Bible) แทน แต่แน่นอนว่าอาตมาปฏิเสธที่จะทำเช่นนั้น พวกเขาจึงรู้สึกหมดหนทาง ผิดหวัง และไม่ปรารถนาอาตมาอีกต่อไป
อาตมายังคงฝึกวิปัสสนาเงียบๆ คนเดียวต่อไปในห้องนอน อ่านหนังสือธรรมะที่นำมาด้วยจากเอเชีย แต่หลังจาก หลายปีในอินเดียและเอเชีย ที่ซึ่งอาตมามีเพื่อนและครูที่สนใจเรื่องจิตวิญญาณเหมือนๆ กัน ที่ยูกันดาอาตมากลับไม่มีเพื่อนอย่างที่ว่าให้คบหาพูดคุยด้วยเลยแม้แต่คนเดียว
อาตมารู้สึกถึงความปรารถนาที่ยังคงพร่องหายไป อีกทั้งรู้สึกสิ้นหวัง ผิดหวัง และหมดความอดทนกับสภาพเช่นนี้ จึงตัดสินใจจากยูกันดาไปเป็นครั้งที่สองเพื่อตามหาสัจธรรมอันลึกซึ้ง และในครั้งนี้อาตมาตั้งใจจะอุทิศเวลาทั้งหมดให้กับการพัฒนาทางจิตใจเพียงอย่างเดียว
“คนคนหนึ่งแม้อายุยืนยาว 100 ปี ถ้าปราศจากปัญญาและการควบคุมตัวเองเสียแล้ว เปรียบไม่ได้กับผู้มีชีวิตเต็มด้วยสติและปัญญาที่มีชีวิตอยู่เพียง 1 วัน” เพียงหนึ่งวันที่มีชีวิตอยู่ด้วยการรักษาศีลและครองสติไว้ให้มั่นคง มีค่ามากกว่าหนึ่งร้อยปีแห่งชีวิตที่ปราศจากศีลและการบำเพ็ญภาวนาเพียงหนึ่งวันที่มีชีวิตอยู่ด้วยปัญญาและการดำรงสติอย่างแน่วแน่ มีค่ามากกว่าหนึ่งร้อยปีของชีวิตที่ปราศจากปัญญาและสติสัมปชัญญะ”
ธรรมบท : 110-111
ยินดีต้อนรับสู่อเมริกา
อาตมาใช้เวลาหนึ่งปีในทวีปอเมริกาใต้ ท่องเที่ยวและฝึกวิปัสสนาด้วยตนเอง ก่อนที่จะเดินทางถึงสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1999 อาตมาเข้าร่วมกับกลุ่มวิปัสสนากรรมฐานขั้นสูงไอเอ็มเอส (IMS - Insight Meditation Society) ในเมืองแบร์ (Barre) รัฐเมสซาชูเสจ (Massachusettes) เป็นเวลาสามเดือน ในที่สุดอาตมาได้พบกับกลุ่มคนที่มีความสนใจอย่างจริงจังเหมือนๆ กัน กลุ่มคนที่ปฏิบัติตามแนวทางคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ คณะสงฆ์และสถาบันไอเอ็มเอสได้กลายมาเป็นบ้านทางจิตวิญญาณ บ้านหลังที่สองของอาตมา แม้อาตมาวางแผนไว้ว่าจะกลับไปยังอเมริกาใต้หลังเสร็จสิ้นการฝึกอบรม แต่อาตมากลับเข้าร่วมงานกับทีมงานของไอเอ็มเอสจนถึงปี ค.ศ. 2000 ช่วงนั้นอาตมาทั้งทำงานไปด้วยทั้งเรียนไปด้วยกับอาจารย์หลายท่าน เข้าร่วมกิจกรรมการฝึกฝนอบรมหลายครั้ง
อาตมาพบกับภันเต กุนารัตนะ (Bhante Gunaratana) ที่ไอเอ็มเอสนี้เองในปี ค.ศ.2000 เมื่อท่านเดินทางมาสอนวิปัสสนา ท่านจะออกไปเดินทุกๆวันของการฝึกอบรม ครั้งหนึ่งหลังจากเสร็จสิ้นการเดินด้วยกัน ภันเต กุนารัตนะชวนให้อาตมาไปเยี่ยมท่านที่กลุ่มภาวนา (Bhavana Society) ที่แห่งนี้ภายหลังได้กลายมาเป็นสถานที่ที่อาตมาใช้จำวัด “บ้านของสมณเพศ” ภายหลังการอุปสมบท
ทุกสรรพสิ่งเกิดจากเหตุและเงื่อนไขที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เช่นเดียวกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับอาตมาที่ไอเอ็มเอส เป็นเรื่องสำคัญที่เราต้องเฝ้าสังเกตความเปลี่ยนแปลงในชีวิต บางสิ่งบางอย่างอาจดูมั่นคงแข็งแรง แต่ทันทีที่เหตุปัจจัยเปลี่ยนไป ความมั่นคงแข็งแรงนั้นก็สลายลงไปทันที อาตมาจำต้องจากไอเอ็มเอสไปอย่างไม่ทันตั้งตัว
มีคำกล่าวหนึ่งว่า “หัวมุมไม่ใช่จุดสิ้นสุดของถนนสายนั้น นอกจากคุณไม่เลี้ยวไปตามทาง” ตอนนี้อาตมาต้องหักเลี้ยวครั้งใหญ่ในชีวิต แล้วมันจะพาอาตมาไปที่ไหนน่ะหรือ....
“ทางหนึ่งคือทางสู่ความมั่งมีทางโลก ส่วนอีกทางหนึ่งคือหนทางสู่พระนิพพาน เมื่อเข้าใจสิ่งนี้อย่างแจ่มแจ้งแล้ว พระสงฆ์ศิษย์ในพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย จงอย่าปล่อยให้เครื่องผูกพันทางโลกมาทำให้ไขว้เขวอยู่เลย จงเร่งพัฒนาเพื่อความหลุดพ้นจากสิ่งเหล่านั้น”
ธรรมบท : 75
การละทิ้ง
อาตมาตัดสินใจแล้วว่าจะทิ้งเรื่องทางโลก ทรัพย์สินภายนอกไม่สามารถทำให้อาตมาพึงพอใจได้อีกต่อไป จากประสบการณ์ในเมืองไทย ความสุขของการศึกษาพุทธศาสนาทำให้อาตมาต้องการจะทุ่มเทชีวิตให้กับการศึกษาและฝึกปฏิบัติ อาตมาจึงตัดสินใจละทิ้งความสุขที่น้อยกว่า (ความสุขทางโลก) เพื่อสิ่งที่สำหรับอาตมาแล้วนับว่าเป็นความสุขที่ยิ่งใหญ่กว่า … นั่นคือการพัฒนาจิตวิญญาณ หลังจากสามเดือนของการอบรมที่ไอเอ็มเอสทำให้อาตมาตระหนักดียิ่งขึ้นไปอีกว่าความสุขที่แท้จริงนั้นมาจากภายใน ไม่ใช่จากปัจจัยภายนอก แน่นอนว่าเราต้องอาศัยปัจจัยภายนอกเป็นตัวช่วย (วัตถุทางโลกต่างๆ)ให้จิตของเราพัฒนาไป แต่ปัจจัยภายนอกเหล่านั้นไม่ใช่แก่นสารหรือจุดหมายปลายทางที่แท้จริง ถ้าเราตั้งปัจจัยภายนอกเป็นเป้าหมายสูงสุดในชีวิตแล้วล่ะก็ วัตถุประสงค์ที่มีคุณค่าแท้จริงของชีวิตจะเลือนลาง เป้าหมายของชาวพุทธที่แท้นั้นคือการใช้ชีวิตอย่างถูกต้องตามทำนองคลองธรรมเพื่อไปถึงนิพพานให้ได้ในที่สุด
อาตมาตกลงใจจะเข้าสู่ร่มกาสาวพักตร์ออกบวชเป็นพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา แต่การอุปสมบทจะเกิดขึ้นได้ต้องมีวัดและพระสงฆ์อาวุโสรูปหนึ่งซึ่งเต็มใจจะรับอาตมาเป็นศิษย์ อาตมาควรจะไปที่ไหนดี?
“พึงละทิ้งหนทางที่มืดมน ผู้มีปัญญาย่อมเลือกเดินไปตามทางสว่างออกจากทางโลกไปสู่ทางธรรม ปรารถนาพบพานความความสุขจากการปล่อยวางซึ่งยากจะหาความสนุกสนาน ละทิ้งความสุขที่ขึ้นกับผัสสะ ไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งใดอีกต่อไป ชำระร่างกายจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์จากเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตใจทั้งมวล”
ธรรมบท : 87-88
เดินทางเข้าสู่เพศบรรพชิต
เพื่อนของอาตมาแนะนำให้อาตมาไปที่ศูนย์ปฏิบัติวิปัสสนาตถาคต (Tathagata) ทีเอ็มซี - TMC - Tathagata Meditation Centre ในเมืองซาน โฮเซ่ (San Jose) รัฐแคลิฟอร์เนีย (California) เขาบอกกับอาตมาว่าผู้คนที่นั่นโดยเฉพาะอย่างยิ่งอุบาสกอุบาสิกาชาวเวียดนามมีจิตใจงดงามยิ่ง ถึงแม้ว่าที่แห่งนี้จะเป็นเพียงศูนย์ปฏิบัติธรรมเล็กๆ ก็ตาม หลังพิจรณาทางเลือกต่างๆอาตมาเดินทางไปที่นั่นในปี ค.ศ. 2001 ได้พบกับท่านปัณณาธิภา (Pannadipa) ที่แปลกคืออาตมาขอบวชกับท่านในทันที อาตมาไม่เคยทราบถึงพิธีการขอบวชมาก่อน ท่านดูแปลกใจอย่างยิ่งที่เห็นชาวแอฟริกันผิวสีคนหนึ่งมีปณิธานแรงกล้าที่จะออกบวชโดยไม่เคยผ่านการอบรมก่อนบวชอย่างเป็นเรื่องเป็นราว ท่านจะทราบได้อย่างไรว่าอาตมาจริงจังแค่ไหน อาตมาค่อนข้างจะวิตกกับการเปลี่ยนแปลงในคราวนี้ ท่านปัณณาธิภา (Pannadipa) อนุญาติให้อาตมาอาศัยอยู่ที่นี่เพื่อเตรียมตัวสำหรับการอุปสมบท อาตมาเริ่มฝึกวิปัสสนาอย่างเข้มข้นไปพร้อมกับเรียนรู้การใช้ชีวิตในเพศบรรพชิต ซึ่งในที่สุดได้นำไปสู่การบวชเป็นพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทที่ทีเอ็มซี ซาน โฮเซ่ แคลิฟอเนียร์ ในปี ค.ศ.2002 โดยอาจารย์ของอาตมาคือท่านซายาดอว์ ยู สิละนันทะ (Sayadaw U. Silananda)
พระพุทธรักขิตาภิกขุ
ผ่านไปช่วงหนึ่งอาตมาจึงย้ายไปอยู่กับกลุ่มภาวนา (Bhavana Society) ที่เวสท์ เวอร์จิเนียร์ (West Virginia) เพื่อศึกษากับท่านภันเต กุนารัตนะ(Bhante Gunaratana) การเดินทางในอเมริกาของอาตมาได้มาสิ้นสุดลงในสถานที่สงบสุขแห่งนี้ที่อาตมาใช้พำนักอยู่เป็นการถาวร
แล้วคำสอนของพระพุทธเจ้าไปถึงยูกันดาได้อย่างไร?
อาตมาพร้อมแล้วหรือที่จะกลับไปพบกับเพื่อนชาวแอฟริกันที่เกือบทั้งหมดไม่เคยรู้อะไรเกี่ยวกับศาสนาพุทธมาก่อนเลย
อาตมาควรไปปฏิบัติวิปัสสนาในถ้ำที่ประเทศอินเดียหรือเผยแผ่พระพุทธศาสนาในแอฟริกามากกว่ากัน
“จงออกไปเผยแผ่ธรรมะด้วยความเมตตาให้กับโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขของมวลมนุษย์ ท่านทั้งสองจงอย่าไปทางเดียวกัน แสดงธรรมให้ถึงพร้อมในตอนต้น ให้ถึงพร้อมในตอนกลาง และให้ถึงพร้อมในตอนท้าย”
- พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

**************************************

ภาพประกอบ จากหนังสือ Planting Dhamma Seeds by Buddharakkhita Bhikkhu
Website ศูนย์พระพุทธศาสนายูกันดา :  


http://sameaf.mfa.go.th/th/country/africa/tips_detail.php?ID=4125&SECTION=41

Thursday, April 2, 2015

“ปรากฏการณ์ต่อต้านอิสลาม” ปะทุลามทั่วยุโรป หลังเห็น 18,000 คนรวมตัวขับไล่ในเยอรมัน

 
เอเอฟพี/เอเจนซีส์ - เมื่อวานี้(6) อังเกลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรีเยอรมัน ต้องออกมาประกาศอย่างแข็งกร้าว ไม่สนับสนุนให้ประชาชนร่วมเดินขบวนการประท้วงขวาจัด “ต่อต้านอิสลาม” ที่ล่าสุดในคืนวันจันทร์(5)ที่เดรสเดนมีผู้ประท้วงรวมตัวถึง 18,000 คน เป็นปรากฏการณ์ “ต่อต้านอิสลาม” ล่าสุดที่ลามไปทั่วยุโรป รวมถึง สวีเดน ฝรั่งเศส
       
       เอเอฟพีและเดลีเมล สื่ออังกฤษ รายงานถึงปรากฏการณ์ “ต่อต้านอิสลาม” ในยุโรป ที่เห็นปรากฏเป็นรูปร่างในเยอรมัน และดูเหมือนปรากฏการณ์นี้ได้แผ่ขยายลามไปทั่วยุโรปแล้ว โดยสื่ออังกฤษรายงานเมื่อวานนี้(6)ว่า อังเกลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรีเยอรมันต้องออกมาประกาศห้ามประชาชนเมืองเบียร์เข้าร่วมการประท้วงแบ่งแยกทางศาสนาเช่นนี้ โดยกล่าวว่า “ผู้เข้าร่วมขบวนการณ์ต่อต้านอิสลามเป็นพวกมีความเกลียดชังเต็มหัวใจ” และประท้วงต่อต้านอิสลามในบริสเบนในคืนวันจันทร์ที่ผานมาสามารถเรียกผู้เข้าร่วมได้ถึง 18,000 คน และถือเป็นครั้งแรกที่การประท้วงต่อต้านอิสลามในเยอรมันได้แผ่ขยายออกไปยังโคโลญจน์ และกรุงเบอร์ลิน
       
       ในขณะเดียวกันการตอบโต้ของผู้ไม่เห็นด้วยกับการแบ่งแยกศาสนาในเยอรมันส่งสัญญาณต้านด้วยการปิดไฟรอบๆบริเวณมหาวิหารแห่งโคโลญจน์ โบสถ์เก่าแก่ที่สุดในทวีปยุโรป รวมไปถึงประตูบรันเดนบูร์ก
       
       นอกจากนี้หน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์เยอรมัน บิลด์ ได้ลงแถลงการณ์จากบุคคลสำคัญ 50 คน ในประเทศ รวมไปถึงรัฐมนตรีการคลังเยอรมัน วูล์ฟกัง ชูเบิล นักร้องเพลงร็อค อูโด ลินเดนเบิร์ก และอดีตกัปตันทีมฟุตบอล  โอลิเวอร์ เบียร์ฮอฟฟ์  ออกประนามขบวนการ “ต่อต้านอิสลาม” ครั้งนี้
       
       เอเอฟพีรายงานเพิ่มเติมวันนี้(7)ว่า แดเนียล โคห์น-เบนดิต สมาชิกสภายุโรปพรรคกรีน และนักเคลื่อนไหวเอียงซ้ายให้ความเห็นว่า “ในยุโรป สถานการณ์ทั่วไปมีความอึดอัดที่เห็นการขยายตัวของปรากฏการณ์ต่อต้านอิสลาม” ทั้งนี้ โคห์น-เบนดิตโยงไปถึงการประท้วงของกลุ่มชาตินิยมเยอรมัน PEGIDA ที่สามารถรวมตัวผู้สนับสนุนประท้วงในบริสเบนได้ถึง 18,000 คนในวันจันทร์(5) ทั้งๆที่กลุ่ม PEGIDAเพิ่งเริ่มจัดตั้งขึ้นในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ที่เริ่มแรกมีเป้าหมายที่ปัญหาต่างๆหลากหลาย เช่น สื่อสารมวลชน (ที่ถูกประนามว่าเป็นพวกโป้ปด) และบรรดาชนชั้นนักการเมืองชั้นนำของเยอรมัน (ที่ถูกกล่าวหาว่าทำให้วัฒนธรรมคริสเตียนของเยอรมันอ่อนแอลง) โดยไม่ได้มีเป้าหมายโจมตีศาสนาอิสลามแต่เริ่มจัดตั้ง
       
       นอกจากนี้ทางกลุ่มยังประสบความสำเร็จสามารถชักจูงให้นักเคลื่อนไหวต่างชาติเข้าร่วมอุดมการณ์ เช่น ทอมมี โรบินสัน อดีตหัวหน้ากลุ่มขวาจัดลีกปกป้องอังกฤษต่อต้านอิสลาม (Anti-Islamic English Defence League) ซึ่งในวันจันทร์(5) โรบินสันทวีตข้อความว่า “ธงเซนต์จอร์จนั้นโบกไสวในเดรสเดนร่วมกับPEGIDA และหากว่าผมสามารถเลือกได้ว่าจะอยู่ ณ ที่ใดในขณะนี้ สถานที่นั้นต้องเป็นเดรสเดน”
       
       เอเอฟพีรายงานเพิ่มเติมว่า นอกจากเยอรมันแล้ว ปรากฏการณ์ต่อต้านอิสลามยังขยายตัวไปทั่วยุโรป โดยหนึ่งในแหล่งข่าวจากสมาชิกรัฐสภายุโรปให้สัมภาษณ์ว่า “เมื่อเราไม่ได้ติดต่อกับคนอื่น เมื่อเราไม่รู้จักอีกกลุ่มดีพอ เราต่างรู้สึกกลัวต่อกล่มคนแปลกหน้านั้น เราได้เห็นถึงการลงประชามติเกี่ยวกับมัสยิดในสวิตเซอร์แลนด์ โดยประชาชนชาวสวิสที่อาศัยอยู่ในที่ห่างไกลซึ่งได้รับผลกระทบน้อยที่สุด แต่กลับกลายเป็นกลุ่มที่ออกมาต่อต้านมากที่สุด”
       
       แต่ทว่าสิ่งนั้นยังเทียบไม่ได้กับความกลัวที่แท้จริงของชาวยุโรปที่เห็นการอพยพเข้ายุโรปครั้งใหญ่ ซึ่งในสวีเดน ประเทศที่มีความภาคภูมิใจในทัศนคติเสรีชน ต้องตกอยู่ในความตรึงเครียดเมื่อพบกับผู้อพยพลี้ภัยจำนวนถึง 100,000 คนขอเข้ามาอาศัยลี้ภัยในประเทศที่มีประชากรเพียง 10 ล้านคน และนอกจากนี้ ยังได้เห็นถึงการเติบโตของปีกการเมืองขวาจัดสวีเดน พรรคเดโมแครต ที่มีเป้าหมายไปที่การอพยพยเข้าสวีเดน รวมไปถึง เหตุการยิงที่มัสยิดในสวีเดนเกิดขึ้น จนทำให้มีการเกรงถึงการมี “ความเกลียดชังอิสลาม” เพิ่มขึ้นในประเทศ
       
       เมื่อข้ามมายังฝรั่งเศส ซึ่งถือเป็นประเทศที่มีชุมชนมุสลิมใหญ่ที่สุดในยุโรป มีการถกเถียงถึง “การขยายตัวของอิสลาม” (Islamisation) ซึ่งทำให้มีการเกรงว่าอาจจะทำให้เกิดการต่อต้านจากกลุ่มขวาจัดฝรั่งเศส “ฟรอนท์ เนชันแนล” และผู้มีต้นทุนทางสังคมในฝรั่งเศส พร้อมกับแรงสั่นสะเทือนจากการเปิดตัวหนังสือในรอบสัปดาห์นี้ของ Michel Houellebecq ที่ตั้งสมมุติฐานถึงฝรั่งเศสที่อาจอยู่ใต้การปกครองของพรรคมุสลิมในปี 2022
       
       และท้ายที่สุด โคห์น-เบนดิต สมาชิกสภายุโรปพรรคกรีนให้ความเห็นสรุปว่า สถานการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเชิงวัฒนธรรมภายในยุโรป “มีกลุ่มPEGIDAในเยอรมัน และยังมีการแต่งงานชนเพศเดียวกันในฝรั่งเศส ทำให้มีความกลัวว่าจะสูญเสียในสิ่งที่ไม่มีเหลืออยู่แล้ว มีความกลัวถึงการเสียความเป็นเยอรมันที่แท้จริงไป การเสียวิสัยทัศน์ความเป็นครอบครัว ซึ่งไม่มีอยู่จริงนานแล้ว เป็นต้น”