Wednesday, August 12, 2009

รักต่างศาสนา...คู่แท้สมานฉันท์ ความท้าทายกลาง"มรสุมศรัทธา"




มี ข้อบ่งชี้มากมายที่บ่งบอกว่า "สังคมมุสลิม" ในประเทศไทย เกิดความเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วจากปัจจัยต่างๆ สิ่งหนึ่งซึ่งมองเห็นได้ชัด คือ ความสัมพันธ์ระหว่างชาวมุสลิมกับคนที่นับถือศาสนาที่แตกต่างกันถึงขั้น "แต่งงาน" กันก็มีมากขึ้นอย่างน่าสนใจ
ใน มุมหนึ่ง ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่งผลดีต่อการสร้างความใกล้ชิดและความเข้าใจซึ่งกัน และกันระหว่าง "คนต่างศาสนา" อันจะนำมาซึ่ง "ความสมานฉันท์" ในสังคมที่มีความหลาก หลาย แม้บางครั้งเขาและเธอต้องเผชิญกับความ "ท้าทาย" บางอย่าง.....
ใน อีกมุมหนึ่งการสร้างการเรียนรู้ทาง "ศาสนาอิสลาม" ให้กับ "มุสลิมใหม่" เหล่านั้น ตกอยู่กับผู้รู้และผู้นำศาสนาในชุมชนอย่างมิอาจปฏิเสธได้ เพื่อให้พวกเขาดำรงตนอยู่ในหลักการของศาสนาอิสลามได้อย่างถูกต้อง อันจะนำไปสู่การสร้างสังคมมุสลิมที่มีคุณภาพตาม "ข้อบัญญัติอิส ลาม" ได้ แต่ดูเหมือน "ความรักกับคนต่างศาสนา" สำหรับมุสลิมนั้นเป็นเรื่องละเอียดอ่อน โดย เฉพาะ "ข้อกังวล" ในความรู้เรื่องหลักศรัทธาและหลักปฏิบัติ!!!
รายงาน การศึกษาเรื่อง "พื้นที่ทางสังคมระหว่างคนมุสลิมและคนต่างศาสนาในภาคใต้ : การวิเคราะห์ความสัมพันธ์และการแต่งงานระหว่างคนต่างศาสนา" ของ "น.ส.อัมพร หมาดเด็น" อา จารย์ประจำหลักสูตรวัฒนธรรมศึกษา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จ.นครศรีธรรมราช ได้อธิบายภาพปรากฏการณ์ดังกล่าวไว้อย่างน่าสนใจ
รายงาน ฉบับนี้ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับคุณค่าและการปรับแนวคิดของคนมุสลิมและคนต่าง ศาสนาที่แสดงออกในพฤติกรรมและทัศนคติ ต่อการมีความสัมพันธ์และการแต่งงานระหว่างคนต่างศาสนา โดยเก็บข้อมูลระหว่างเดือนสิงหาคม 2549 ถึง มกราคม 2550 ใน จ.ภูเก็ต และนครศรี ธรรมราช ซึ่งคนมุสลิมและคนต่างศาสนาในภูมิภาคนี้ไม่ได้เป็นประชากรกลุ่มใหญ่ และ "กฎหมายครอบครัวมุสลิม" ไม่ได้มีอิทธิพลกับคนกลุ่มนี้มากเท่ากับมุสลิมกลุ่มใหญ่ใน 4 จังหวัดภาคใต้สุดติดชายแดนของประเทศ ได้แก่ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสตูล ซึ่งการแต่งงานของมุสลิมในพื้นที่เหล่านี้จะถูกควบคุมโดย "กฎหมายครอบครัว" และ "มรดกของอิสลาม" ส่วนการแต่งงานของมุสลิมในจังหวัดอื่นถูกกำหนดโดย "กฎหมายแพ่ง"
ทั้ง นี้กรอบความคิดของการแต่งงานในศาสนาอิสลามถูกพิจารณาด้วยเรื่องศาสนาที่ผู้ นับถือสามารถปฏิบัติตามหลักศาสนาได้ ในหลักเบื้องต้น "ผู้นับถือ"(Believers) ที่กำลังจะแต่งงานจึง "ลำ บากใจ" ในเรื่องการแต่งงานข้ามศาสนา เพื่อให้พ่อแม่ของคู่แต่งงานหรือชุมชนยอมรับ แต่ในบางภา วะก็สามารถอนุญาตให้คนมุสลิมแต่งงานกับคนต่างศาสนาได้ ข้อยกเว้นนี้ใช้สำหรับ "หนุ่มมุสลิม" ที่จะแต่งงานกับ "หญิงชาวยิวและชาวคริสต์" ซึ่งถูกกล่าวถึงว่าเป็น "Ahlul Kitab" หรือ "People of the Book" ซึ่งมาจากความเข้าใจที่ว่าชาวยิวและชาวคริสต์มีทัศนคติด้านศาสนาที่คล้ายกัน
"แต่ การแต่งงานระหว่างหญิงมุสลิมกับชายต่างศาสนาเป็นสิ่งที่ค่อนข้างยากกว่า โดยหญิงมุสลิมไม่ได้รับอนุญาตให้แต่งงานกับผู้ใดที่ไม่ใช่ชายมุสลิม ซึ่งไม่มีข้อยกเว้นสำหรับผู้หญิงให้แต่ง งานกับชาวยิวหรือชาวคริสต์ได้" รายงานระบุ
ใน รายงานฉบับนี้ยังระบุว่าจากการสังเกต "เพศ" พบว่า การแต่งงานระหว่างคน 2 ศาสนาในชุมชนมุสลิมนั้น ผู้หญิงพุทธจะมีความเป็นไปได้มากกว่าในการเปลี่ยนมานับถืออิสลามโดยการแต่ง งานตามพิธีกรรมของศาสนาอิสลาม หรือ "Nikah".....ในเชิงเปรียบเทียบพ่อแม่ชาวมุสลิมและญาติๆรู้สึกรับหญิงชาวพุทธ เข้ามาเป็นมุสลิมได้ง่ายกว่าผู้ชาย ชาวบ้านหลายคนผูกความเชื่อและการยอมรับไว้กับความเห็นของหัวหน้าครอบครัว ซึ่งโดยทั่วไปเป็นผู้ชายและกับระบบความเชื่อ ผู้หญิงจะได้รับการปกป้องมากกว่าในครอบครัว ในขณะที่ผู้ชายมีอิสระมากกว่าที่จะออกไปสร้างสัมพันธ์กับคนต่างศาสนา
ผู้หญิง ชาวพุทธจะถูกขอร้องให้อยู่ในชุมชนมุสลิม และครอบครัวจะสอนกฎระเบียบของศาสนาและการปฏิบัติตนหลัง Nikah ในขณะที่ชายต่างศาสนาถูกขอให้เข้าเป็นมุสลิมก่อนและหลังการเปลี่ยนศาสนา และ Nikah รวมทั้งการปฏิบัติพิธีกรรมเพื่อเข้าศาสนาอิสลาม คือ "พิธีสุหนัต" มีชาวพุทธมากมายที่อยู่กินกับคู่รักชาวมุสลิมก่อนแต่งงาน แต่ไม่ได้หมายถึงพวกเขาไม่ตระหนักในแบบแผนทางเพศของอิสลาม หรือกลัวต่อบาปในการผิดประเวณี แต่วิธีการที่ได้มาจากความคิดมุสลิมบางคนและขนบธรรมเนียมคือ "เข้มงวด-ไม่ผ่อนปรน" เช่นกรณีของ "อิมราน" (Imran).....
บิดา ของ "อิมราน" เป็นอดีตอิหม่ามที่อ่าวมะขาม และรับไม่ได้กับการที่บุตรชายผู้ซึ่งเรียนจบจากโรงเรียนอิสลามไปมีความ สัมพันธ์กับหญิงต่างศาสนา หลังจากที่อิมราน ไม่ประสบความ สำเร็จในการขอให้พ่อแม่จัด Nikah ให้ พวกเขาตัดสินใจหนีออกจากบ้านไปเกือบ 2 ปี โดยหญิงต่างศาสนาที่อิมราน ต้องการ Nikah ด้วยเป็น "คนจีน-ไทย" ซึ่งถูกกล่าวถึงโดยมุสลิมว่า "sa-jeen" ซึ่งในความเข้าใจของคนมุสลิมนั้นคิดว่าเป็นกลุ่มคนที่ไม่สะอาด กินอาหารที่ขัดต่อกฎหมายอิสลามโดยเฉพาะเนื้อหมู ภาพของ sa-jeen ที่ถูกสร้างขึ้นมาเป็นเวลานานนั้น ทำให้ "คนแขก" รู้สึกไม่ค่อยสนิทใจที่จะเข้ามาร่วมสร้างความสัมพันธ์ให้ใกล้ชิด โดยเฉพาะถึงขั้นแต่งงาน
"มุสลิม เชื่อว่าการเปลี่ยนศาสนาไม่ใช่แค่ได้สถานะเป็นมุสลิมเท่านั้น แต่เขาหรือเธอยังเป็นผู้บริสุทธิ์จากการทำบาปในครั้งอดีตที่ได้รับการอภัย จากพระเจ้าด้วย" รายงานของ "อัมพร" ระบุ
ขณะ ที่ความคาดหวังของชุมชนมุสลิมนั้น คือ ผู้ชาย-ผู้หญิงต้องเปลี่ยนศาสนาเป็นอิสลามและประพฤติตัวดังเช่นมุสลิมทั่วไป เช่นกรณีของ "ฟาติน"(Fatin) หญิงมุสลิมใน อ.ท่าศาลา จ.นคร ศรีธรรมราช ที่แต่งงานกับชายชาวพุทธ และไม่เปลี่ยนศาสนาเป็นอิสลามตาม "กฎหมายจารีต" เรื่องการแต่งงาน.....
"ฟา ติน" เติบโตขึ้นในชุมชนมุสลิมและจำต้องแต่งงานกับสามี เธอเรียกมันว่า "การแต่ง งานเพราะอุบัติเหตุ" แทนการมีเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงานหรือการกระทำผิดจารีต เธอพยายามทำให้สามีศรัทธาและเปลี่ยนมานับถือศาสนาเดียวกับเธอ แต่ไม่ประสบผล "ฟาติน" ยอมรับว่า หลังเกือบ 20 ปีของชีวิตแต่งงาน มีลูกสาว 2 คน อาศัยอยู่ในหมู่บ้านของสามี เธอไม่ได้ปฏิบัติตามธรรมเนียมอิสลาม แต่ยังแสดงตัวว่าเป็นมุสลิมอยู่ อย่างไรก็ตามความรู้สึก "ทุกข์ใจ" ที่เกิดขึ้นบ่อยๆในชีวิตของเธอเป็นผลมาจากการกระทำที่เธอทำกับพ่อแม่ เธอไม่ได้ต้องการการแต่งงานกับคนต่างศาสนา อยู่ด้วยกันโดยไม่ได้เข้าพิธี nikah .....
"ฟาติน" รู้สึกเป็นบาปต่อพ่อแม่ของเธอ!!!
กรณี นี้แสดงให้เห็นถึงอีกรูปแบบหนึ่งของการอยู่ด้วยกันโดยไม่ได้แต่งงาน ซึ่งแตกต่างจากกรณีของอิมราน ในเรื่องความแตกต่างของการกระทำให้ประสบผล การแต่งงานของฟาติน เกิดขึ้นภายใต้กฎหมายจารีต ในขณะที่อิมราน ใช้กฎหมายการแต่งงานของอิสลาม nikah ทั้ง 2 กรณีหมาย ถึงการเอาชนะอุปสรรคเพื่อการแต่งงานกับคนต่างศาสนา หลังจากที่ไปใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันโดยไม่ได้แต่งงาน พวกเขาก็เผชิญกับสิ่งที่ได้กระทำไปแล้ว การแต่งงานโดยส่วนใหญ่พ่อแม่จะเป็นผู้ยินยอมและรับรู้ พวกเขาเป็นคู่กันแล้ว จึงไม่มีทางที่จะห้ามปรามได้
การ แต่งงานระหว่างคน 2 ศาสนา ไม่ได้ทำให้เปลี่ยนเฉพาะชีวิตส่วนตัวของผู้คนแค่เพียงชื่อ หรือการกระทำเท่านั้น แต่ชุมชนไม่สามารถปฏิเสธความต้องการในการปรับตัว และความซื่อ สัตย์ต่อรูปแบบครอบครัวใหม่แห่งยุคร่วมสมัย การดำรงอยู่ร่วมกันแม้จะผ่านความยุ่งยากของการแต่งงานระหว่างคนต่าง ศาสนา.....
แต่ความแตกต่างของศาสนาไม่อาจกีดขวางการธำรงไว้ซึ่งความสัมพันธ์ได้!!!

วันที่ 7/3/2007

ที่มา
http://www.naewna.com/news.asp?ID=51187

No comments:

Post a Comment