Thursday, May 31, 2012

หลวงปู่หลุย จันทสาโร อดีตชาวคริสต์ สู่วิถีธรรม สายพระอาจารย์มั่น



หลวงปู่หลุย จันทสาโร
ท่านเป็นพระ อาจารย์ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ เมื่อครั้งเป็นฆราวาสที่ ได้นับถือศาสนาคริสต์ จนได้รับขนานนามว่า "เซนต์หลุย"
ท่านเกิดวันเดียวกันกับหลวงปู่ชอบ ฐานสโม บวชวันเดียวกันกับหลวงปู่ขาว อนาลโย แรกเริ่มท่านเป็นศิษย์ของหลวงปู่บุญ ปญฺญาวุโธ
ต่อมาได้พบหลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล และหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ตามลำดับ ท่านเป็นผู้มีปฏิปทามักน้อย สันโดษ อ่อนน้อม ถ่อมตน ไม่ติดในสถานที่
"อย่าไปตามดู อาการของเวทนา ให้ดูจิตอย่างเดียว" ธรรมโอวาทของ "หลวง ปู่หลุย จันทสาโร" แห่งวัดถ้ำผาบิ้ง อ.วังสะพุง จ.เลย
พระวิปัสสนาจารย์สายอีสาน ที่ได้รับความเลื่อมใสศรัทธาจากสาธุชนเป็นอย่างมาก

ชาติภูมิ หลวงปู่หลุย
ถือกำเนิดใน สกุล วรบุตร เมื่อวันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ 2444 โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายคำฝอย วรบุตร ลูกชายเจ้าเมืองแก่นท้าว แขวงไชยบุรี ประเทศลาว และนางกวย (สุวรรณภา) วรบุตร
ในช่วงวัยเยาว์ ได้มีโอกาสศึกษาเล่าเรียนที่โรงเรียนวัดศรีสะอาด จบชั้นประถมปีที่ 3 ต่อมาได้ทำงานเป็นเสมียนกับพี่เขยที่เป็นสมุห์บัญชีสรรพากร อ.เชียงคาน
และเมื่อปี 2464 ได้ย้ายไปทำงานที่อำเภอแซงบาดาล (ธวัชบุรี) และที่ห้องอัยการภาค จ.ร้อยเอ็ด ด้วยการอุปถัมภ์ของอัยการภาคร้อยเอ็ด
ท่านมีการ ติดต่อกับฝรั่งฝั่งประเทศลาว อีกทั้งได้ศึกษาศาสนาคริสต์อยู่ 5 ปี จนลุงของท่าน เรียกท่านว่า เซนต์หลุยส์ หรือ หลุย ท่านจึงถูกเรียกชื่อว่า หลุย ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
พ.ศ.2466 ตัดสินใจออกบวชเป็นพระมหานิกาย ณ อ.แซงบาดาล จ.ร้อยเอ็ด ระหว่างพรรษาแรก ท่านได้พยายามศึกษาพระธรรมวินัย ทั้งปริยัติธรรมและปฏิบัติ
ครั้นถึงคราวออกพรรษา ท่านได้ลาพระอุปัชฌาย์ไปเข้าร่วม การคัดเลือกเกณฑ์ทหารที่จังหวัดเลย และได้เดินทางไปนมัสการพระธาตุพนม ที่จังหวัดนครพนม
ระหว่างทางได้ พบพระธุดงค์กัมมัฏฐานรูปหนึ่งมาจากอำเภอโพนทอง รู้สึกถูกอัธยาศัย ท่านได้ร่วมถวายภาวนาเป็นพุทธบูชา ณ ลานพระธาตุพนมตลอดคืน
บังเกิดความอัศจรรย์ กายลหุตา จิตลหุตา คือ กาย เบา จิตเบา จึงตั้งสัจจาอธิษฐานว่าจะบวชกัมมัฏฐานตลอดชีวิต
ระหว่างทางสู่จังหวัดเลย เมื่อมาถึงบ้านหนองวัวซอ ท่านได้มีโอกาสฟังธรรมเทศนาจาก ท่านพระอาจารย์บุญ ปัญญาวโร รู้สึกเลื่อมใสมาก
จึงขอถวายตัว เป็นศิษย์พระอาจารย์ได้แนะนำให้ขอญัตติเป็นธรรมยุตที่จังหวัด เลย
ภายหลังพ้นเกณฑ์ทหารแล้ว ท่านจึงได้ขอญัตติจตุตถกรรมใหม่ เป็นพระธรรมยุตที่วัดศรีสะอาด อ.เมือง จ.เลย และได้กลับมาอยู่กับพระอาจารย์บุญ ที่วัดหนองวัวซอ
และติดตามไปวัดพระพุทธบาทบัวบก ณ ที่นี้ ท่านได้พบกับ พระอาจารย์เสาร์ กันตสีโล และอยู่ปฏิบัติรับฟังโอวาทจาก พระอาจารย์เสาร์ โดยมี พระอาจารย์บุญ เป็นพระพี่เลี้ยง
จากนั้น ได้ไปกราบนมัส การ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ที่ท่าบ่อ จ.หนองคาย ได้อยู่อบรมรับฟังโอวาทและฝึกปฏิบัติกับพระอาจารย์มั่น จวบจนเข้าพรรษา
จึงกลับมาจำพรรษาต่อกับพระอาจารย์เสาร์ ที่วัดพระพุทธบาท บัวบก
ในพรรษานี้ ท่านได้ภาวนาจนจิตรวมแล้วเกิดอาการสะดุ้ง พระอาจารย์บุญ จึงให้ญุตติจตุถกรรมใหม่ที่ วัดโพธิสมพรณ์ อ.เมือง จ.อุดรธานี เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2468
โดยมี พระธรรมเจดีย์ (จูม พันธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์ และพระอาจารย์บุญ ปญญาวโร เป็นพระกรรมวาจาจารย์
ในบรรดาศิษย์หลวงปู่มั่น กล่าวได้ว่า หลวงปู่หลุย เป็นผู้ที่สันโดษ มักน้อย ประหยัด มัธยัสถ์ที่สุด เป็นผู้ละเอียดลออ และเป็นนักจดบันทึก มีบันทึกหลายสิบเล่มเกี่ยวกับหลวงปู่มั่น
ซึ่งเป็นประโยชน์มากต่อการค้นคว้าศึกษาสำหรับสาธุชนคนรุ่น หลัง รวมทั้งธรรมโอวาทของท่านด้วย
ธรรมเทศนาของ หลวงปู่หลุย มีมากมายนับไม่ถ้วน
ด้วยท่านได้ เทศน์โปรดญาติโยมลูกศิษย์มากกว่าครึ่งศตวรรษ จนกระทั่งคืนสุดท้าย ก่อนจะมรณภาพเพียงหนึ่งชั่วโมง ท่านก็ยังอบรมสั่งสอนศิษย์อยู่
ท่านได้กล่าวถึงความสำคัญของการรักษา ศีล โดยเฉพาะในวันอาทิตย์ ท่านจะเน้นให้บรรดาศิษย์รักษาเพิ่มจาก ศีล 5 เป็น ศีล 8 ท่านได้อธิบายอานิสงส์ของศีลให้ฟังว่า
ศีล 5 พระพุทธเจ้า ท่านมีเมตตาต่อผู้ครองเรือน ผู้รักษาศีล 5 ย่อมสำเร็จโสดาบันได้ สำหรับศีล 8 ย่อมช่วยให้สามารถสำเร็จถึง อนาคามีได้
ธรรมเทศนาของท่าน จะย้ำเสมอเรื่องการบริจาคทาน การรักษาศีล และการเจริญภาวนา ท่านมักจะเน้นเรื่องศีลอยู่เสมอ เพราะ ศีล แปลว่า ความปกติ เป็นการรักษาใจให้ปกติ
อันเป็นบาทเบื้องต้นของการภาวนา หากรักษาศีลได้บริสุทธิ์ การภาวนาก็จะก้าวหน้ารวดเร็ว ผู้มีศีลย่อมต้องมีจิตใจผ่องใส เป็นที่รักของบุคคลทั้งหลาย
หลวงปู่หลุย เปี่ยมล้นด้วยเมตตา
โดยไม่อ้างกาล เวลา แม้อาพาธอย่างหนัก ยังปรารภปัจฉิมเทศนาเป็นครั้งสุดท้าย จวบจนเวลา 23.30 น. ท่านได้กล่าวว่าท่านประคองธาตุขันธ์ต่อไปไม่ไหว คงจะปล่อยวางแล้ว
ขอเอาจิตอย่าง เดียว และขอขอบใจที่พระเณรได้ช่วยกันอุปัฏฐากท่าน หากได้ล่วงเกินซึ่งกันและกัน ก็ขอให้อโหสิกรรมให้แก่กันและกันด้วย
กระทั่งเวลา 00.43 น. คืนวันที่ 24 ล่วงเข้าสู่วันจันทร์ที่ 25 ธันวา คม 2532 หลวงปู่หลุย ได้ละสังขารไปด้วยอาการอันสงบ สิริอายุ 88 ปี พรรษา 67

No comments:

Post a Comment