ที่มาของภาพ
รหัสชีวิต
: เพ็ญลักษณ์ ภักดีเจริญ
แค่เด็กอิ่มท้อง....ก็พอแล้ว
เธอไม่ใช่แม่ชีนักเทศน์ที่หลายคนติดอกติดใจ หรือนักบวชหญิงที่มีชื่อเสียงโด่งดัง เธอเป็นแค่แม่ชีธรรมดาๆ รูปหนึ่ง และไม่ได้บวชเพราะอกหักหรือผิดหวังในชีวิต เธอก้าวเข้ามาสู่พุทธศาสนา เพราะความบังเอิญที่วันหนึ่งแวะไปทวงหนี้เพื่อนที่บวชเป็นแม่ชี เธอก็เลยศรัทธาในพุทธศาสนา ขอบวชเป็นแม่ชีจนถึงปัจจุบัน ที่ได้ใช้ชีวิตแบบนักบวชนานกว่า 18 ปี
ช่วงแรกๆ เธอบวชในวัดเล็กๆ และในที่สุดออกมาตั้งสำนักแม่ชีไทยญาณพิมพ์ศิกาญจน์ในหุบเขา ต.หนองลู อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี โดยมีจุดประสงค์คือ เพื่อให้เด็กๆ ชนกลุ่มน้อยทั้งพม่า กะเหรี่ยง มอญ ฯลฯ มีที่พักพิงเพื่อเรียนหนังสือ
แม้สิ่งที่เธอทำจะเป็นเรื่องเล็กๆ ในสายตาคนไทย แต่กลับเป็นเรื่องใหญ่สำหรับเด็กชาวเขา หากพวกเขาสามารถพูดอ่านและเขียนภาษาไทยได้ ก็จะทำให้ชีวิตดีขึ้น
"ย้ายมาอยู่บนเขานานกว่าเจ็ดปีแล้ว ตอนนี้เด็กๆ และพวกเราก็ยังกินข้าวต้มผสมบะหมี่สำเร็จรูป ส่วนอาหารหลักคือ ปลากระป๋องและอาหารแห้งจากการบริจาคของญาติโยม แม้ที่นี่จะปลูกผักได้ แต่ก็ไม่เพียงพอ เพราะอาหารมื้อหนึ่งต้องใช้ผักกว่าสิบกิโลกรัม เวลามีคนมาทำบุญ ก็ต้องเจียดเงินไว้เพื่อทำอาหารให้ได้ปริมาณมากที่สุด คุณภาพไม่ค่อยมีหรอก เราให้เด็กอิ่มท้องไว้ก่อน แค่พวกเขาไม่ลักขโมยก็พอแล้ว"
แม่ชีพิมพ์ใจ มณีรัตน์ ผู้ก่อตั้งศูนย์ศึกษาตามอัธยาศัยไทยภูเขา สำนักแม่ชีไทยญาณพิมพ์ศิกาญจน์ เล่าให้ฟังในวันที่เธอรับรางวัลสตรีดีเด่นในพระพุทธศาสนา ปี 2551 เนื่องในโอกาสวันสตรีสากลแห่งสหประชาชาติที่ผ่านมา ที่สมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรีฯ โดยปีนี้มีสตรีชาวพุทธจากทั่วโลกได้รับรางวัลรวม 20 คนจาก 7 ประเทศ
ก่อนหน้าที่เธอจะบวชชี เธอเคยเป็นแม่ค้าขายดอกไม้ เรียนจบแค่มัธยมปีที่สาม และบวชตอนอายุ 32 ปี จนกระทั่งปี 2538 ได้เริ่มทำงานแม่ชีอาสาพัฒนาในสังกัดสถาบันแม่ชีไทย เธอก็ค่อยๆ เรียนรู้การทำงานเพื่อสังคม
"ก่อนที่จะบวชเคยเป็นคริสเตียน ตอนนั้นไม่ได้คิดว่าจะบวช ไม่รู้เรื่องพุทธศาสนาเลย พอได้บวชก็รู้สึกว่าเดินถูกทางแล้ว ก็เลยเกิดศรัทธาแล้วปฏิบัติอย่างจริงจัง ปฏิบัติแล้วเห็นผล จึงขอศิโรราบในคำสอนของพระพุทธเจ้า"
การใช้ชีวิตในชุมชนคนกลุ่มน้อยแถวๆ สังขละบุรี ทำให้แม่ชีพิมพ์ใจพบว่า เด็กชนกลุ่มน้อยไม่ได้รับการศึกษาเยอะมาก ก็เลยรับมาอุปการะให้เรียนหนังสือ และให้อาหารประทังชีวิต
"ตอนแรกแม่ชีพักอยู่วัด พอเด็กเข้ามาอยู่เยอะขึ้น ทางวัดก็เลยไม่ให้อยู่ที่นั่น ต้องย้ายออกมา เด็กในหมู่บ้านอ.สังขละบุรี มีทั้งกะเหรี่ยง มอญ ฉะขิ่นและพม่า เมื่อไม่มีใครคอยดูแลเด็ก ก็เลยต้องหาที่อยู่ใหม่บนภูเขา เพราะปัญหาเรื่องพูดภาษาไทยไม่ได้ พอชาวบ้านเห็นตำรวจก็วิ่งหนี นึกว่า ตัวเองทำผิด กลัวว่าจะถูกจับ เพราะความเข้าใจผิดในเรื่องการสื่อสาร จึงต้องสอนหนังสือให้เด็กๆ"
กระทั่งปี 2544 แม่ชีพิมพ์ใจสามารถหาที่ดินปลูกสำนักแม่ชีไทยญาณพิมพ์ศิกาญจน์ เพื่อตั้งศูนย์ศึกษาตามอัธยาศัยไทยภูเขา เพราะเด็กชนกลุ่มน้อยมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ
"ตอนแรกๆ ก็เอาข้าวเหลือจากพระบิณฑบาตมาให้เด็กๆ กิน ส่วนใหญ่ไม่ใช่เด็กไทย พวกเขาต้องการเรียนรู้ภาษาไทย บางคนก็ไป-กลับและพักอยู่ที่นั่นเลย ปัญหาของเด็กมีเยอะ ถ้าหิวก็จะลักเล็กขโมยน้อย ยิ่งไม่รู้ภาษาไทยยิ่งมีปัญหา ตอนนั้นคนก็ว่าแม่ชี เรื่องช่วยคนต่างด้าว"
กว่าจะเป็นรูปเป็นร่างมีที่พักให้เด็กๆ แม่ชีพิมพ์ใจบอกว่า ลำบากมาก ปัจจุบันก็ยังมีปัญหาเรื่องอาหารการกิน บางครั้งมีญาติโยมเอาเห็ดมาให้ ก็ใส่ลงในข้าวต้ม หรือไม่ก็ต้มกับซี่โครงไก่ อย่างมื้อกลางวันก็มีกับข้าวหนึ่งอย่าง
"เด็กที่นี่บางส่วนกำพร้าพ่อแม่ บางคนครอบครัวแตกแยก และส่วนใหญ่ยากจนบ้านไกลจากศูนย์ฯ ก็ได้ญาติโยมมาช่วยกันทำที่พักในป่าบนยอดเขา ช่วงแรกๆ เด็กๆ จะเป็นไข้มาลาเลียอาทิตย์ละสองสามคน"
แค่ให้เด็กชนกลุ่มน้อยมีอาหารกิน สามารถพูดภาษาไทยได้ และไม่ลักขโมย ก็เป็นเรื่องที่ทำให้ชีวิตแม่ชีต้องฝ่าฟันอุปสรรคมากมาย เธอบอกว่า ช่วงเวลาที่ยากลำบากได้ผ่านไปแล้ว แต่ทุกวันนี้เด็กๆ ก็กินแบบไม่มีคุณภาพ เน้นปริมาณเหมือนเดิม
ศูนย์ดังกล่าวมี แม่ชีพิมพ์ใจ และแม่ชีบัว กิจธนโภคิน เป็นผู้สอนหนังสือให้พระสงฆ์สองรูป แม่ชีกว่าสิบรูปและเด็กๆ ที่อยู่รวมกันในศูนย์ฯ ประมาณ 40 คน และเด็กที่ไปกลับระหว่างหมู่บ้านอีก 20 คน ซึ่งทั้งหมดต้องเลี้ยงดูเรื่องอาหารการกิน
ปัจจุบันบนยอดเขาที่พวกเขาอยู่ร่วมกัน ใช้ไฟฟ้าจากพลังแสงอาทิตย์ และเส้นทางเข้าออกในช่วงฤดูฝนค่อนข้างลำบาก เมื่อไม่นานเพิ่งมีญาติโยมมาช่วยกันทำถนน
"เราสอนหนังสือเหมือนพี่สอนน้อง สอนตามกำลัง ไม่มีอาสาสมัครที่ไหน มีแม่ชีสองคนช่วยกันสอน เพราะเราทำหลายอย่าง ต้องเจียดเวลาจัดอบรมบวชชีพราหมณ์ และสอนพวกเขาให้รู้จักวัฒนธรรมประเพณีด้วย ครูที่สอนยังมีไม่พอ"
นอกจากสอนภาษาไทยเพื่อใช้สื่อภาษาแล้ว แม่ชีพิมพ์ใจยังสอนธรรมะ ให้เด็กๆ รู้จักความขยัน อ่อนน้อมถ่อมตน สอนการสวดมนต์ ทำวัตรเช้าและเดินจงกรม
“เด็กๆ ชาวเขาส่วนใหญ่จะไม่ค่อยสะอาด พอได้รับการอบรมจากที่นี่ ก็ดีขึ้น พูดรู้เรื่องมากขึ้นและขยัน เพราะแม่ชีจะให้นอนสามทุ่มและตื่นนอนตอนตีห้า มีเด็กหลายคนไม่มีสัญชาติ ตอนที่ไปขอสัญชาติให้กลุ่มเด็กของแม่ชี ก็ถูกโดนไล่ออกจากบ้านกำนัน พ่อแม่เด็กบางคนได้บัตรประชาชนแล้ว แต่ลูกอยู่กับเราก็ไม่ได้สัญชาติไทย” แม่ชีเล่า และบอกว่า ปัจจุบันยังมีปัญหาขาดปัจจัยสี่คือ อาหาร เครื่องนุ่มห่ม ยารักษาโรค และอุปกรณ์การเรียนการสอน
แม้เธอจะทำงานด้วยความยากลำบาก แต่เธอก็ต้องทำต่อไปเรื่อยๆ เพื่อช่วยเหลือเด็กๆ โดยไม่ละเลยที่จะสำรวจใจตัวเองให้เวลากับการภาวนาปฏิบัติธรรม
“ถ้าวันนั้นไม่ได้บวชชี วันนี้คงเป็นดาราเท้าไฟ เพราะชอบเที่ยวกลางคืน ก่อนบวชแม้จะมีครอบครัวแล้ว ก็ไม่รู้จักธรรมะเลย ลูกสาวเคยบอกให้สึกออกไป บอกว่า จะเลี้ยงดูแม่เอง เห็นแม่ทำงานแล้วสงสาร ถ้าแม่ออกมาจะเล่นไพ่หรือเที่ยวก็ได้ แต่แม่ชีไม่เอาแล้ว”
...............................
หมายเหตุ :สำนักแม่ชีไทยญาณพิมพ์ศิกาญจน์ เบอร์ติดต่อ 089-5350264
ที่มา
http://www.bangkokbiznews.com/bodyheart/20080302/news.php?news=column_25902859.php
: เพ็ญลักษณ์ ภักดีเจริญ
แค่เด็กอิ่มท้อง....ก็พอแล้ว
เธอไม่ใช่แม่ชีนักเทศน์ที่หลายคนติดอกติดใจ หรือนักบวชหญิงที่มีชื่อเสียงโด่งดัง เธอเป็นแค่แม่ชีธรรมดาๆ รูปหนึ่ง และไม่ได้บวชเพราะอกหักหรือผิดหวังในชีวิต เธอก้าวเข้ามาสู่พุทธศาสนา เพราะความบังเอิญที่วันหนึ่งแวะไปทวงหนี้เพื่อนที่บวชเป็นแม่ชี เธอก็เลยศรัทธาในพุทธศาสนา ขอบวชเป็นแม่ชีจนถึงปัจจุบัน ที่ได้ใช้ชีวิตแบบนักบวชนานกว่า 18 ปี
ช่วงแรกๆ เธอบวชในวัดเล็กๆ และในที่สุดออกมาตั้งสำนักแม่ชีไทยญาณพิมพ์ศิกาญจน์ในหุบเขา ต.หนองลู อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี โดยมีจุดประสงค์คือ เพื่อให้เด็กๆ ชนกลุ่มน้อยทั้งพม่า กะเหรี่ยง มอญ ฯลฯ มีที่พักพิงเพื่อเรียนหนังสือ
แม้สิ่งที่เธอทำจะเป็นเรื่องเล็กๆ ในสายตาคนไทย แต่กลับเป็นเรื่องใหญ่สำหรับเด็กชาวเขา หากพวกเขาสามารถพูดอ่านและเขียนภาษาไทยได้ ก็จะทำให้ชีวิตดีขึ้น
"ย้ายมาอยู่บนเขานานกว่าเจ็ดปีแล้ว ตอนนี้เด็กๆ และพวกเราก็ยังกินข้าวต้มผสมบะหมี่สำเร็จรูป ส่วนอาหารหลักคือ ปลากระป๋องและอาหารแห้งจากการบริจาคของญาติโยม แม้ที่นี่จะปลูกผักได้ แต่ก็ไม่เพียงพอ เพราะอาหารมื้อหนึ่งต้องใช้ผักกว่าสิบกิโลกรัม เวลามีคนมาทำบุญ ก็ต้องเจียดเงินไว้เพื่อทำอาหารให้ได้ปริมาณมากที่สุด คุณภาพไม่ค่อยมีหรอก เราให้เด็กอิ่มท้องไว้ก่อน แค่พวกเขาไม่ลักขโมยก็พอแล้ว"
แม่ชีพิมพ์ใจ มณีรัตน์ ผู้ก่อตั้งศูนย์ศึกษาตามอัธยาศัยไทยภูเขา สำนักแม่ชีไทยญาณพิมพ์ศิกาญจน์ เล่าให้ฟังในวันที่เธอรับรางวัลสตรีดีเด่นในพระพุทธศาสนา ปี 2551 เนื่องในโอกาสวันสตรีสากลแห่งสหประชาชาติที่ผ่านมา ที่สมาคมส่งเสริมสถานภาพสตรีฯ โดยปีนี้มีสตรีชาวพุทธจากทั่วโลกได้รับรางวัลรวม 20 คนจาก 7 ประเทศ
ก่อนหน้าที่เธอจะบวชชี เธอเคยเป็นแม่ค้าขายดอกไม้ เรียนจบแค่มัธยมปีที่สาม และบวชตอนอายุ 32 ปี จนกระทั่งปี 2538 ได้เริ่มทำงานแม่ชีอาสาพัฒนาในสังกัดสถาบันแม่ชีไทย เธอก็ค่อยๆ เรียนรู้การทำงานเพื่อสังคม
"ก่อนที่จะบวชเคยเป็นคริสเตียน ตอนนั้นไม่ได้คิดว่าจะบวช ไม่รู้เรื่องพุทธศาสนาเลย พอได้บวชก็รู้สึกว่าเดินถูกทางแล้ว ก็เลยเกิดศรัทธาแล้วปฏิบัติอย่างจริงจัง ปฏิบัติแล้วเห็นผล จึงขอศิโรราบในคำสอนของพระพุทธเจ้า"
การใช้ชีวิตในชุมชนคนกลุ่มน้อยแถวๆ สังขละบุรี ทำให้แม่ชีพิมพ์ใจพบว่า เด็กชนกลุ่มน้อยไม่ได้รับการศึกษาเยอะมาก ก็เลยรับมาอุปการะให้เรียนหนังสือ และให้อาหารประทังชีวิต
"ตอนแรกแม่ชีพักอยู่วัด พอเด็กเข้ามาอยู่เยอะขึ้น ทางวัดก็เลยไม่ให้อยู่ที่นั่น ต้องย้ายออกมา เด็กในหมู่บ้านอ.สังขละบุรี มีทั้งกะเหรี่ยง มอญ ฉะขิ่นและพม่า เมื่อไม่มีใครคอยดูแลเด็ก ก็เลยต้องหาที่อยู่ใหม่บนภูเขา เพราะปัญหาเรื่องพูดภาษาไทยไม่ได้ พอชาวบ้านเห็นตำรวจก็วิ่งหนี นึกว่า ตัวเองทำผิด กลัวว่าจะถูกจับ เพราะความเข้าใจผิดในเรื่องการสื่อสาร จึงต้องสอนหนังสือให้เด็กๆ"
กระทั่งปี 2544 แม่ชีพิมพ์ใจสามารถหาที่ดินปลูกสำนักแม่ชีไทยญาณพิมพ์ศิกาญจน์ เพื่อตั้งศูนย์ศึกษาตามอัธยาศัยไทยภูเขา เพราะเด็กชนกลุ่มน้อยมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ
"ตอนแรกๆ ก็เอาข้าวเหลือจากพระบิณฑบาตมาให้เด็กๆ กิน ส่วนใหญ่ไม่ใช่เด็กไทย พวกเขาต้องการเรียนรู้ภาษาไทย บางคนก็ไป-กลับและพักอยู่ที่นั่นเลย ปัญหาของเด็กมีเยอะ ถ้าหิวก็จะลักเล็กขโมยน้อย ยิ่งไม่รู้ภาษาไทยยิ่งมีปัญหา ตอนนั้นคนก็ว่าแม่ชี เรื่องช่วยคนต่างด้าว"
กว่าจะเป็นรูปเป็นร่างมีที่พักให้เด็กๆ แม่ชีพิมพ์ใจบอกว่า ลำบากมาก ปัจจุบันก็ยังมีปัญหาเรื่องอาหารการกิน บางครั้งมีญาติโยมเอาเห็ดมาให้ ก็ใส่ลงในข้าวต้ม หรือไม่ก็ต้มกับซี่โครงไก่ อย่างมื้อกลางวันก็มีกับข้าวหนึ่งอย่าง
"เด็กที่นี่บางส่วนกำพร้าพ่อแม่ บางคนครอบครัวแตกแยก และส่วนใหญ่ยากจนบ้านไกลจากศูนย์ฯ ก็ได้ญาติโยมมาช่วยกันทำที่พักในป่าบนยอดเขา ช่วงแรกๆ เด็กๆ จะเป็นไข้มาลาเลียอาทิตย์ละสองสามคน"
แค่ให้เด็กชนกลุ่มน้อยมีอาหารกิน สามารถพูดภาษาไทยได้ และไม่ลักขโมย ก็เป็นเรื่องที่ทำให้ชีวิตแม่ชีต้องฝ่าฟันอุปสรรคมากมาย เธอบอกว่า ช่วงเวลาที่ยากลำบากได้ผ่านไปแล้ว แต่ทุกวันนี้เด็กๆ ก็กินแบบไม่มีคุณภาพ เน้นปริมาณเหมือนเดิม
ศูนย์ดังกล่าวมี แม่ชีพิมพ์ใจ และแม่ชีบัว กิจธนโภคิน เป็นผู้สอนหนังสือให้พระสงฆ์สองรูป แม่ชีกว่าสิบรูปและเด็กๆ ที่อยู่รวมกันในศูนย์ฯ ประมาณ 40 คน และเด็กที่ไปกลับระหว่างหมู่บ้านอีก 20 คน ซึ่งทั้งหมดต้องเลี้ยงดูเรื่องอาหารการกิน
ปัจจุบันบนยอดเขาที่พวกเขาอยู่ร่วมกัน ใช้ไฟฟ้าจากพลังแสงอาทิตย์ และเส้นทางเข้าออกในช่วงฤดูฝนค่อนข้างลำบาก เมื่อไม่นานเพิ่งมีญาติโยมมาช่วยกันทำถนน
"เราสอนหนังสือเหมือนพี่สอนน้อง สอนตามกำลัง ไม่มีอาสาสมัครที่ไหน มีแม่ชีสองคนช่วยกันสอน เพราะเราทำหลายอย่าง ต้องเจียดเวลาจัดอบรมบวชชีพราหมณ์ และสอนพวกเขาให้รู้จักวัฒนธรรมประเพณีด้วย ครูที่สอนยังมีไม่พอ"
นอกจากสอนภาษาไทยเพื่อใช้สื่อภาษาแล้ว แม่ชีพิมพ์ใจยังสอนธรรมะ ให้เด็กๆ รู้จักความขยัน อ่อนน้อมถ่อมตน สอนการสวดมนต์ ทำวัตรเช้าและเดินจงกรม
“เด็กๆ ชาวเขาส่วนใหญ่จะไม่ค่อยสะอาด พอได้รับการอบรมจากที่นี่ ก็ดีขึ้น พูดรู้เรื่องมากขึ้นและขยัน เพราะแม่ชีจะให้นอนสามทุ่มและตื่นนอนตอนตีห้า มีเด็กหลายคนไม่มีสัญชาติ ตอนที่ไปขอสัญชาติให้กลุ่มเด็กของแม่ชี ก็ถูกโดนไล่ออกจากบ้านกำนัน พ่อแม่เด็กบางคนได้บัตรประชาชนแล้ว แต่ลูกอยู่กับเราก็ไม่ได้สัญชาติไทย” แม่ชีเล่า และบอกว่า ปัจจุบันยังมีปัญหาขาดปัจจัยสี่คือ อาหาร เครื่องนุ่มห่ม ยารักษาโรค และอุปกรณ์การเรียนการสอน
แม้เธอจะทำงานด้วยความยากลำบาก แต่เธอก็ต้องทำต่อไปเรื่อยๆ เพื่อช่วยเหลือเด็กๆ โดยไม่ละเลยที่จะสำรวจใจตัวเองให้เวลากับการภาวนาปฏิบัติธรรม
“ถ้าวันนั้นไม่ได้บวชชี วันนี้คงเป็นดาราเท้าไฟ เพราะชอบเที่ยวกลางคืน ก่อนบวชแม้จะมีครอบครัวแล้ว ก็ไม่รู้จักธรรมะเลย ลูกสาวเคยบอกให้สึกออกไป บอกว่า จะเลี้ยงดูแม่เอง เห็นแม่ทำงานแล้วสงสาร ถ้าแม่ออกมาจะเล่นไพ่หรือเที่ยวก็ได้ แต่แม่ชีไม่เอาแล้ว”
...............................
หมายเหตุ :สำนักแม่ชีไทยญาณพิมพ์ศิกาญจน์ เบอร์ติดต่อ 089-5350264
ที่มา
http://www.bangkokbiznews.com/bodyheart/20080302/news.php?news=column_25902859.php
No comments:
Post a Comment