Tuesday, September 11, 2012

เปิดหน้าประวัติศาสตร์ ช่วงชีวิตของพระเยซูที่หายไป



ช่วงชีวิตที่หายไปของพระเยซู...ไปศึกษาพุทธศาสนาที่อินเดีย
          
                ที่ศรีนาคาร์หรือขอเรียกตามลิ้นไทยๆว่าศรีนคร เมืองหลวงแห่งแคว้นแคชเมียร์หรือกัษมิระในภาคเหนือของอินเดียนั ้นมีที่เก็บศพแห่งหนึ่งชื่อว่า โรซาบัล (ROZA BAL) ตั้งอยู่ที่ตำบลกันยาร์ (KAN YAR) ห่ างจากตัวเมืองศรีนครเพียง 3 กม.เท่านั้น โรซาบัลเป็นอาคารชั้นเดียวหลังคาเหลี่ยมแบบเรียบๆ กว้างยาวราวๆ 10 เมตร ทาสีขาว ภายในเคยมีเรือนไม้กรุโปร่งสูงสี่เหลี่ยมผืนผ้าสูงจรดเพดานครอบ หลุมศพที่อยู่ใต้ดินอีกชั้นหนึ่ง ปัจจุบันเรือนไม้นี้ถูกเปลี่ยนเป็นกระจกทั้ง 4 ด้านแทน แต่ก็ไม่อาจเห็นหรือเข้าถึงหลุมศพใต้ดินอยู่ดี
               
                 ป้ายภายนอกบอกไว้ว่าผู้มี่ทอดร่างอยู่ในหลุมศพนี้คือ ยุซ อาซาฟ (YUZ ASAF) ไม่มีอะไรในที่เก็บศพนี้ที่จะบ่งบอกถึงความสำคัญเป็นพิเศษของชายผู้นี้ นอกเสียจากที่พื้นใกล้เรือนคลุมหลุมศพนั้นมีรอยประทับฝ่าเท้าสอ งข้าง ฝ่าเท้าแต่ละข้างมีรอยแผลที่เกิดจากการถูกตอกตะปูตรึงกางเขน ชาวพื้นเมืองบอกว่าหลุมศพนี้คือหลุมศพของจีซัส ไครสต์ พระเยซูเจ้า องค์ศาสดาแห่งศาสนาคริสต์!

                เป็นไปได้หรือที่พระเยซูจะเสด็จมาไกลถึงที่นี่ พระองค์มาเมื่อไร และมาทำไม

                เรื่องนี้ นักประวัติศาสตร์หลายคนเห็นพ้องต้องกันว่าพระเยซูเคยเสด็จมาทาง ตะวันออก และอาจมาถึงอินเดียแต่ช่วงเวลาที่เดินทางมานั้น นักประวัติศาสตร์มีความเห็นแตกแยกเป็นสองฝ่าย ฝ่ายหนึ่งเชื่อว่า พระองค์รอดพระชนม์จากการถูกตรึงกางเขน แล้วเสด็จมาอินเดีย อีกฝ่ายบอกว่าพระเยซูทรงใช้ “ช่วงชีวิตที่หายไป” คือระหว่างวัย 13 – ประมาณ 30 ชันษา อันเป็นช่วงวัยที่ขาดหายไปเฉยๆ ไม่มีการกล่าวถึงในพระคัมภีร์นั้น เดินทางมายังอินเดีย ก็คือตามหาชนเผ่ายิวที่หายสาบสูญไปแต่โบราณกาล และเชื่อว่าน่าจะมาตั้งหลักแหล่งอยู่ที่ภาคเหนือของอินเดียนี้เ อง

                เรื่องของเรื่องก็คือ ปีที่ 597 ก่อนคริสต์กาล พระเจ้าเนบูคัดเนสซาร์ แห่งอัสซีเรียทำลายเมืองเยรูซาเล็มและกวาดต้อนชาวยิวไปเป็นทาสใ นกรุงบาบิโลนของพระองค์ อีก 47 ปีต่อมา พระเจ้าไซรัสมหาราช แห่งเปอร์เซียตีได้บาบิโลนบ้างเป็นกงเกวียนกำเกวียนและได้ปรดปล ่อยชาวยิวเป็นอิสระ ชาวยิวซึ่งทั้งหมดมีอยู่ 13 เผ่าก็อพยพกระจัดกระจายกันไป คงเหลือที่กลับไปยังดินแดนจูเดียเพียง 2 เผ่า อีก 10 เผ่าไม่ทราบว่าแตกฉานซ่านเซ็นไปที่ไหนกันบ้าง แต่นักวิชาการเชื่อว่ายิวพลัดถิ่นเหล่านี้ไปตั้งรกรากทั้งในอียิปต์ เปอร์เซีย อิหร่านอัฟกานิสถาน และภาคเหนือของอินเดีย หรือกัษมิระนี่เอง

                อือม์.....มาไกลจริงๆ

                ร่องรอยที่ยืนยันว่าคนกัษมิระน่าจะสืบเชื้อสายมาจากชาวยิวก็คือ ความเหมือนคล้ายทางภาษาและขนบธรรมเนียมประเพณี จากการศึกษาวิเคราะห์พบว่ามีชื่อเผ่า ชื่อตระกูลกว่า 90 ชื่อที่เหมือนกันระหว่างกัษมิระกับอิสราเอล ชื่อสถานที่อีกกว่า 70 แห่งก็ดูจะมาจากรากศัพท์เดียวกัน ธรรมเนียมบางอย่างของกัษมิระก็คล้ายคลึงกับของชาวยิว เช่น พิธีถือศีลบริสุทธิ์ 40 วันของสตรีที่เพิ่งคลอดบุตร การประกอบอาหารโดยไม่ใช้น้ำมัน เครื่องแต่งกายบางอย่างที่คล้ายคลึงกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหมวกของผู้ชาย และการฝังศพโดยทอดร่างผู้ตายตามแนวตะวันออก- ตะวันตก ซึ่งยังคงถือปฏิบัติกันอยู่จนทุกวันนี้ และแตกต่างจากธรรมเนียมของศาสนาอิสลาม ศาสนาที่ครอบงำดินแดนแห่งนี้มานาน ที่ฝังศพตามแนวเหนือ-ใต้ เป็นที่น่าสังเกตว่า โรซาบัลสร้างในแนวตะวันออก-ตะวันตก แม้จะสร้างขึ้นในระยะที่อิทธิพลศาสนาอิสลามแผ่เข้ามาแล้ว อันแสดงว่าผู้ตายไม่น่าจะเป็นมุสลิม
                นอกจากนั้น การศึกษาวิจัยของศูนย์มานุษยวิทยาด้านพงศ์พันธุ์แห่งมหาวิทยาลั ยลอนดอนซึ่งทำการทดลองกับกลุ่มชนที่เชื่อว่าเป็นลูกหลานชาวยิวใ นอินเดีย ได้ผลว่าชนกลุ่มนี้มีความเชื่อมโยงอย่างชัดเจนกับชาวยิวแห่งเยเ มนและชนเผ่าในอาฟริกาใต้ ที่เชื่อว่าเป็นกลุ่มหนึ่งของยิวอพยพหลังบาบิโลนแตกเช่นกัน

              ชาวยุโรปผู้หนึ่งที่จุดประกายเรื่องที่พระเยซูเสด็จมาอินเดียก็ คือ โนโตวิช (NICHOLAS NOTOVITCH) ชาวรัสเซีย ผู้เป็นนักหนังสือพิมพ์ และนักเขียนสารคดีการเมือง หนังสือที่เกี่ยวกับการเมืองรัสเซียของเขาทำให้เขามีชื่อเสียงไ ปทั่วยุโรป ปี 1877 เขาเดินทางไปยังอัฟกานิสถาน ปากีสถาน และอินเดีย เพื่อศึกษาชีวิตและความเชื่อของผู้คนในดินแดนนั้น ที่ลาดัค (LADAKH) ดินแดนที่ขนาบข้างด้วยกัษมิระและทิเบต เขาตกจากหลังม้าบาดเจ็บ และได้การดูแลรักษาจากพระลามะรูปหนึ่งที่อารามเฮมิสกุมพา อันเป็นวัดใหญ่ที่สุดของลาดัค เป็นวัดที่มีอาณาบริเวณกว้างขวาง สิ่งก่อสร้างและสถูปประดับประดาด้วยเพชรและพลอยมีค่า พระประธานเป็นทองคำแท้ และยังมีภาพประวัติพระพุทธองค์ที่วาดบนผืนผ้าอายุนับร้อยปีเป็น ของคู่วัดที่รู้จักกันดี โนโตวิชพักอยู่ที่วัดเฮมิสจนคุ้นเคยกับพระลามะรูปนั้น ถึงขนาดที่ท่านเอาม้วนคัมภีร์โบราณที่เขียนเป็นภาษาทิเบตโดยนัก ประวัติศาสตร์พุทธศาสนามาให้โนโตวิชดู ซึ่งโนโตวิชก็สนใจมากและได้คัดลอกบางส่วนที่สำคัญตามที่ล่ามแปล ให้ฟังไว้ คัมภีร์นั้นเล่าถึงเรื่องราวของบุคคลที่ชื่อ อิสซา (ISSA) ตั้งแต่เกิดจนตาย

                แล้วมาเกี่ยวกับพระเยซูอย่างไรหรือ

               ก็อิสซานั้นเป็นชื่อเรียกพระเยซูในภาษาอิสลาม เชื่อว่ามาจากรากศัพท์ภาษาฮีบรูหรืออราเมอิคว่า YESHUA (คำว่า JESUS นั้นเป็นคำในภาษากรีกและลาตินที่ใช้ถ่ายทอดพระคัมภีร์ หาใช่คำในภาษาฮีบรูดั้งเดิมไม่) ตามคัมภีร์ดังกล่าว อิสซา หรือที่เชื่อว่าคือพระเยซูได้เดินทางมายังอินเดียตั้งแต่อายุประมาณ 13 ปี โดยผ่านมาทางอิหร่าน อัฟกานิสถาน และปากีสถานปัจจุบัน(เป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยโบราณของชมพูทวีป นั่นคือเมืองตักกสิลา ราชธานีของแคว้นคันธาระ ปัจจุบันอยู่ในประเทศปากีสถาน วรรณะพราหมณ์และกษัตริย์จะเดินทางมาไกลเพื่อมาร่ำเรียนศิลปวิทยาที่นี่ และศาสตร์18ประการ ก็มาเรียนที่นี่ครับ) พระเยซูได้ร่ำเรียนพระเวท และปรัชญาต่างๆอยู่ที่นั่นจนอายุ 29 ปี จึงเดินทางกลับจูเดีย

           เรื่อง ราวนี้จึงเท่ากับเป็นคำตอบอย่างดีว่า ใน “ช่วงชีวิตที่หายไป” ของพระเยซูนั้น พระองค์หายไปไหน

           ต่อมาปี 1894 หลังจากโนโตวิชเดินทางกลับยุโรป เขาก็ตีพิมพ์เรื่องราวที่เขารู้เห็นมาจากอารามเฮมิสเป็นหนังสือ ชื่อ THE UNKNOWN LIFE OF CHRIST หนังสือเล่มนี้และตัวโนโตวิชเองได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว ้างขวาง ซึ่งแน่ล่ะ ส่วนใหญ่เป็นไปในทางลบ บ้างก็ว่าโนโตวิชยกเมฆ ไม่เคยเดินทางไปยังอามรามที่ว่า บ้างก็ว่าอารามเฮมิสและม้วนคัมภีร์ดังกล่าวไม่มีอยู่จริง ซึ่งก็น่าสงสัยอยู่เหมือนกัน เพราะไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนยืนยันความมีอยู่ของคัมภีร์นั้น (แต่การค้นคว้าในปัจจุบันดูจะสนับสนุนเรื่องราวของโนโตวิชและคั มภีร์แห่งวัดเฮมิส แม้จะไม่พบคัมภีร์ที่ว่านั้น ซึ่งป่านนี้คงเปื่อยยุ่ยไปหมดแล้วกระมัง)

              ในอินเดียเองก็มีผู้เปิดประเด็นเรื่องนี้ไว้เช่นกัน ฮาซรัต เมียร์ซา กูแลม อาหมัด (HAZRAT MIRZA GHULAM AHMAD) ชายชื่อยาวชาวอินเดียผู้เป็นปราชญ์คนหนึ่งของศาสนาอิสลามได้เขี ยนหนังสือเรื่อง JESUS IN INDIA ไว้เป็นภาษาอูรดู(ภาษาอูรดู เป็นภาษาอินเดียแขนงหนึ่ง เป็นภาษาราชการของปากีสถาน ภาษาเขียนคืออักษรอาหรับ) เมื่อปี 1899 ในหนังสือนี้กล่าวว่าพระเยซูทรงรอดพระชนม์ชีพจากการถูกตรึงกางเขน แล้วเดินทางมาพำนักในอินเดียจนกระทั่งพระชนมายุ 120 ปีจึงสิ้นพระชนม์ และพระศพก็ถูกฝังอยู่ที่โรซาบัลในศรีนคร

            ประเด็นสำคัญใน “Jesus in India” ของ**แลม อาหมัด นั้นต่างจากเรื่องของโนโตวิชที่พระเยซูของท่านอาหมัดเสด็จมาอินเดียภายหลังจากการถูกตรึงกางเขน และเขายังบอกด้วยว่าพระสงฆ์แห่งพุทธศาสนาได้นำคำสั่งสอนของพระเยซูไปปรับใช้ โดยอ้างว่าเป็นพระวจนะของพระพุทธองค์ ซึ่งข้ออ้างและความเห็นของเขาดูจะไม่เป็นที่ชอบใจของศาสนิกชนทั้งพุทธและคริสต์เท่าไหร่
                กูแลม อาหมัด ยังกล่าวถึงโรซาบัลด้วยว่าเขาได้ไปสำรวจสอบถามคนท้องถิ่นใกล้เค ียงที่เก็บศพแห่งนั้น ได้ความว่า โรซาบัลนี้สร้างมาแล้วประมาณ 1900 ปี (ในสมัยของอาหมัด) และผู้ที่ถูกฝังอยู่ก็คือชาวต่างชาติคนหนึ่ง ซึ่งเดินทางมายังดินแดนนี้ เพื่อสั่งสอนผู้คนเมื่อประมาณ 600 ปีก่อนพระนะบีมะหะหมัด ชาวพื้นเมืองเรียกชายผู้นี้ว่า ยุซ อาซาฟ

                อันที่จริง ความคิดที่ว่าพระเยซูมิได้สิ้นพระชนม์บนไม้กางเขนนั้นมิใช่ของใหม่ เคยมีผู้สันนิษฐาน วิเคราะห์และโต้แย้งมาก่อนหน้านี้นานแล้ว เหตุผลสนับสนุนก็คือ ประการแรก พระเยซูถูกตรึงกางเขนอยู่ไม่นานนัก จากเที่ยงถึงบ่ายสามโมงเท่านั้น เนื่องจากวันนั้นเป็นวันซับบาธ วันสำคัญทางศาสนาของชาวยิว จึงจะไม่ปล่อยนักโทษทิ้งคาอยู่บนกางเขนจนตะวันตกดิน

                ประการที่สอง  เมื่อเข้าใจกันว่าพระเยซูสิ้นพระชนม์แล้วนั้น ทหารโรมันได้เอาหอกแทงที่สีข้างของพระองค์ ซึ่งก็มีน้ำและเลือดพุ่งออกมา อันแสดงว่าพระองค์ยังมีพระชนม์อยู่ เลือดจึงยังไหลเวียน เพราะถ้าพระองค์สิ้นพระชนม์แล้ว เลือดจะจับตัวเป็นก้อนแข็ง ไม่พุ่งออกมาจากบาดแผลเช่นนี้

                ประการที่สาม ปิลาตเจ้าเมืองจูเดียได้มอบพระศพพระเยซูแก่โจเซฟแห่งอริมาเธีย ซึ่งเป็นสานุศิษย์คนสำคัญ โจเซฟก็ย่อมมีโอกาสลอบนำ “พระศพ” ไปรักษาพยาบาล และยังปรากฏด้วยว่าเจ้าหัวขโมยอีก 2 คนที่ถูกตรึงกางเขนพร้อมกับพระเยซูนั้นก็ไม่ตายเช่นกัน ความเป็นไปได้ที่พระองค์จะรอดพระชนม์จึงยิ่งน่าเชื่อมากขึ้น

                นอกจากนั้น ในพระคัมภีร์เองก็กล่าวถึงเหตุการณ์ภายหลังการตรึงกางเขนว่า พระเยซูยังเสด็จมาพบปะสนทนา รับประทานอาหาร และเดินทางร่วมกับศิษยานุศิษย์ ถ้าเราไม่ถือว่าเรื่องราวตรงนี้เป็นความเปรียบ ซึ่งก็มิได้มีทีท่าว่าน่าจะเป็นอย่างนั้น เราก็เห็นจะต้องยอมรับว่าพระเยซูอาจมิได้สิ้นพระชนม์บนไม้กางเข นตามที่เคยเข้าใจ

               ส่วนหลักฐานที่ว่าพระเยซูเดินทางมาอินเดียนั้น ด็อกเตอร์ฟิดา ฮัสเนน (FIDA HASSNAIN) อดีตผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์และโบราณสถานแห่งกัษมิระ ได้ค้นคว้าเรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลผู้มีลักษณะคล้ายพระเยซูที่ป รากฏตัวในอินเดีย และดินแดนใกล้เคียงตามเอกสารประวัติศาสตร์ คัมภีร์ในศาสนา และตำนานต่างๆ ซึ่งก็ได้พบเรื่องราวนี้มากมาย อย่างในพระคัมภีร์ภาวิชยะ มหาปุราณะ คัมภีร์ 1 ใน 18 เล่มของคัมภีร์ปุราณะอันศักดิ์สิทธิ์ของฮินดู ซึ่งรวบรวมขึ้นเมื่อ ค.ศ.115 นั้น กล่าวถึงการพบปะระหว่างพระเจ้าชาลิวาหณะกับบุคคลผู้เป็นที่เคาร พคนหนึ่งที่ชื่อ อิซา-มาซิห์ (ISA-MASIH) อิซาเล่าความเป็นมาของเขาว่า

                “ข้าคือบุตรของพระเจ้า เกิดจากมารดาพรหมจารี ข้ามาจากต่างดินแดน อันเป็นที่ซึ่งปราศจากความจริง...ข้าปรากฏกกายในฐานะเมสซิอาห์. ..”

                ในหนังสือ RAUZAT-US SAF หนังสือประวัติศาสตร์ของเปอร์เซีย ซึ่งเขียนขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1417 บอกไว้ว่า “เยซูผู้มีสันติสุข ถูกขนานนามว่าเมสซิอาห์ เพราะพระองค์เป็นนักเดินทางผู้ยิ่งยง... พระองค์เดินทางจากดินแดนของพระองค์ไปยังนาสสิเบน ซึ่งเป็นระยะทางไกลมาก พระองค์มีสาวกมาด้วยคนหนึ่ง ซึ่งพระองค์ทรงส่งเขาไปเผยแพร่คำสั่งสอนในเมือง”

                ในศตวรรษที่ 10 นักวิชาการชาวมุสลิมชื่อ อัล-เชค อัล-ซาอิด-อุส-ซาดิค (AL-SHAIK AL-SAID-US-SADIQ) บันทึกการสืบค้นทางวัฒนธรรมไว้เป็นหนังสือเรื่อง อิคมาอัล-อุด-ดิน (IKMAUL-UD-DIN) กล่าวถึงชาวต่างชาติผู้หนึ่งซึ่งมีลักษณะคล้ายพระเยซูเป็นอย่าง ยิ่งและมีชื่อว่า ยุส อาซาฟ “ แล้วยุส อาซาฟก็มาถึงเมืองที่เรียกว่ากัษมิระ เขาเดินทางไปทั่วกระทั่งความตายพรากชีวิตเขาไป เขาสั่งให้บาบัดผู้สาวกเตรียมหลุมศพให้เขาแล้วเขาก็นอนลงโดยเหย ียดขาไปทางตะวันตก วางศรีษะไปทางตะวันออกจากนั้นก็สิ้นใจ” ในหนังสือเล่มเดียวกันนี้ยังบอกด้วยว่า ยุส อาซาฟ สั่งสอนธรรมะโดยใช้นิทานเปรียบเทียบ นิทานเรื่องหนึ่งคือ “ผู้หว่านเมล็ดพืช” ซึ่งคล้ายคลึงเป็นอย่างยิ่งกับนิทานเปรียบเทียบของพระเยซูในพระ คัมภีร์ (มาร์ค 4.3.20)

                นอกจากนั้น ยังมีหลักฐานที่น่าแปลกอย่างหนึ่งที่เชื่อมโยงพระเยซุกับผู้ที่ ชื่อ ยุส อาซาฟ กับเมืองศรีนคร กล่าวคือที่วิหารตากัต สุไลมาน (TAKHAT SULAIMAN แปลว่าบัลลังก์แห่งสุไลมานหรือก็คือโซโลมอนนั่นเอง) ที่ทะเลสาบดาลในศรีนครนั้นมีจารึกที่เสาวิหารว่าผู้ที่สร้างเสา นี้คือใคร สร้างขึ้นเมื่อใด และลงท้ายว่า “ณ เวลานั้น ยุส อาซาฟ ประกาศตนเป็นผู้พยากรณ์ ปี 50 กับ 4 เขาคือเยซู ผู้พยากรณ์และบุตรแห่งอิสราเอล” ปี 54 ที่กล่าวถึงในจารึกนั้นเทียบได้กับปี ค.ศ.78 เป็นเวลาภายหลังจากพระเยซูถูกตรึงกางเขน ถ้าเชื่อตามจารึกนี้ก็ดูเหมือนว่าพระเยซูจะเสด็จมาศรีนครจริงๆ

                ที่ประหลาดไปกว่านั้นก็คือ มีการกล่าวอ้างว่าที่ชายแดนปากีสถานต่อกับอินเดียก็มีหลุมศพของ โทมัส สาวกของพระเยซูที่ตำนานเล่าว่าติดตามพระเยซูมาด้วยและคือบาบัด สาวกของยุส อาซาฟ นั่นเอง ยิ่งไปกว่านั้น บางตำนานก็เล่าเลยไปถึงว่าพระเยซูแต่งงานกับหญิงชาวพื้นเมืองแล ะมีลูกหลานสืบต่อมา จึงมีชาวกัษมิระคนหนึ่งชื่อนายซาฮิบ ซาดา บาซารัต ซาลีม ได้อ้างว่าตนเป็นเชื้อสายของพระเยซูที่สืบต่อกันมาเป็นตระกุ ลให ญ่อีกด้วย

             ใครคือผู้ที่ถูกฝังอยู่ในโรซาบัลนั้นยังคงเป็นปริศนาที่โต้แย้ง กันอยู่ แต่ ซูซาน โอลสัน (SUZANNE OLSSON) หญิงเก่งนักวิจัยอิสระคนหนึ่งก็ได้พยายามขออนุญาตขุดค้นหลุมศพน ี้ พร้อมทั้งมีแผนที่จะเอาตัวอย่างเนื้อเยื่อจากศพไปพิสูจน์ดีเอ็น เอด้วย แต่ความพยายามของเธอยังไม่สำเร็จ ต้องพบกับอุปสรรคมากมายทั้งทางศาสนาและรัฐบาลท้องถิ่น จนบางครั้งก็เสี่ยงต่อความปลอดภัยของตนเอง เราก็เลยยังไม่ได้ข้อสรุปกันเสียที ไม่เช่นนั้นประวัติศาสตร์และประวัติศาสตร์ศาสนาอาจต้องพลิกผันก็ได้ ใครจะรู้

บทความจาก หนังสือ ต่วยตูนพิเศษ ฉบับเดือนตุลาคม 2547

No comments:

Post a Comment