Tuesday, May 31, 2011

อสัตบุรุษ คนพาล 5 ประเภท







บุรุษผู้มีวาทะว่าหาเหตุมิได้ ๑ 
ผู้มีวาทะว่าพระเจ้าสร้างโลก ๑ 
ผู้มีวาทะว่าสุขและทุกข์เกิดเพราะกรรมที่ทำมาก่อน ๑  
ผู้มีวาทะว่าขาดสูญ ๑
คนที่มีวาทะว่าฆ่าบิดามารดาเป็นกิจที่ควรทำ ๑ 
ทั้ง ๕ คนนี้ เป็นอสัตบุรุษ เป็นคนพาล แต่มีความสำคัญว่าตนเป็นบัณฑิตในโลก  คนเช่นนั้นพึงกระทำบาปเองก็ได้  พึงชักชวนผู้อื่นให้กระทำก็ได้ ความคลุกคลีด้วย อสัตบุรุษมีทุกข์เป็นที่สุด มีผลเผ็ดร้อนเป็นกำไร.
   เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๘  บรรทัดที่ ๓๒๑ - ๔๕๑.  หน้าที่  ๑๓ - ๑๘.
 http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=28&A=321&Z=451&pagebreak=0 
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ขยายความ
ผู้มีวาทะว่าหาเหตุมิได้ หมายถึง คนที่มักคิดว่า สิ่งต่างๆ
ที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องบังเอิญ คนประเภทนี้ย่่อมประมาทอยู่เป็นนิตย์
ซึ่งเมื่อเกิดสิ่งใดแล้ว จะไม่หาเหตุไม่หาผลในสิ่งที่เกิดขึ้น
คนประเภทนี้ มักเป็นคนที่ไม่สนใจศึกษาทางศาสนา
ไม่สนใจเรื่องสิ่งที่มีคุณค่าจิตวิญญาณใดๆ
มักอยู่กับการเสพสิ่งที่พอใจเท่านั้น หรือ
ใช้ชีวิตไปตามกระแสโลกอย่างไม่มีเป้าหมาย


ผู้มีวาทะว่าพระเจ้าสร้างโลก หมายถึง คนที่เชื่อพระเจ้า
เชื่อว่าทุกอย่างในโลกเป็นประสงค์ของพระเจ้า
คนประเภทนี้ย่อมไม่ต่างจากประเภทแรกนัก
เพียงแต่เปลี่ยนจาก บังเอิญ เป็น พระเจ้า เท่านั้น
คนที่เชื่อพระเจ้า จะเชื่อแต่พระเจ้าในลัทธินิกายของที่เผ่าตนเชื่อเพียงอย่างเดียว
ซึ่งมักไม่ยอมรับลัทธินิกายหรือศาสนาอื่นๆ
ก่อให้เกิดความชิงชัง ขัดแย้ง แย่งชิง
อย่างที่เห็นในประวัติศาสตร์ ยูดาย(ยิว) คริสต์ อิสลาม
ซึ่งต่างก็เชื่อในพระเจ้าในแบบของตน ซึ่งเกิดขัดแย้งและมีสงคราม
ตั้งแต่ยุคแรกๆ ของการเกิดศาสนาจวบจนปัจจุบัน


คนประเภทนี้มักเบียดเบียนลบหลู่ศาสนาหรือนิกายอื่นๆ
ชอบอ้างพระเจ้าที่ตนเชื่อ และมักด่าทอว่า
สิ่งศักดิ์สิทธิ์ศาสนาอื่นเป็นมารซาตาน เบเอลเซบูล ไชยฏอน อบลิส สิ่งชั่วร้ายหรือต่างๆ
หนักเข้าก็ทำลายสัญลักษณ์ต่างศาสนา


คนประเภทนี้ จะอ้างว่าทำเพื่อพระเจ้าที่เขาเชื่อ
เขาจะทำอะไรก็ได้เพื่ิอสังเวยความเชื่อ
ตั้งแต่ฆ่าสัตว์พลี บูชายัญ ยอมฆ่าตัวตายเพื่อพระเจ้า
ฆ่าคนเพื่อพระเจ้า ทำสงครามเพื่อพระเจ้า
โดยมักไม่สนใจว่าจะเบียดเบียนทำร้ายชีวิตผู้อื่นและตนเองแต่อย่างใด

ผู้มีวาทะว่าสุขและทุกข์เกิดเพราะกรรมที่ทำมาก่อน
หมายถึง คนที่เชื่อว่ากรรมทำให้เกิดสุขและทุกข์ ซึ่งแท้ที่จริิง
พุทธศาสนาระบุไว้ว่า สุขและทุกเกิดจากการสัมผัส(ผัสสะ)
เพราะที่จริงแล้ว มนุษย์เราสามารถ(จับ)ยึดและ(ปล่อย)วางสิ่งต่างๆ
ได้ตามสติปัญญาที่มี
มนุษย์สามารถเปลี่ยนสุขและทุกข์ของตนเองได้ เพียงการเปลี่ยนการรับรู้หรือทัศนคติ
ที่ิเชิงจิตวิทยาสมัยใหม่เรียกว่า การคิดเชิงบวก
ไม่ใช่ว่าตกอยู่ภายใต้กรรมทำมาก่อนจึงทำให้เกิดสุขหรือทุกข์

คนประเภทนี้ มักไม่เชื่อมั่นในตนเอง หวั่นไหวง่าย ตื่นข่าว
และมักท้อแท้กับชีวิตได้ง่ายๆ อยู่ด้วยความหวาดกลัวโชคชะตา
กลัวจะดวงไม่ดี กลัวบุญบารมีจะไม่ถึง จึงต้องกลายเป็นเหยื่อของความงมงายรูปแบบต่างๆ หากมนุษย์คนใด เป็นเช่นนี้ ก็ไม่ต่างจากสัตว์เดรัจฉาน
เพราะเชื่อเพียงว่าตนเองเกิดมารับกรรมเพียงอย่างเดียว
ผู้มีวาทะว่าขาดสูญ หมายถึง คนที่ไม่เชื่อเรื่องชีวิตหลังความตาย
ไม่เชื่อว่านรกสวรรค์มีจริง ไม่เชื่อเรื่องบาปกรรม
คนประเภทนี้มักไม่กลัวที่จะทำความชั่ว เพราะเขาเชื่อว่าจะชีวิตมีครั้งเดียว
ดังนั้น เขาจึงมักกอบโกยและแสวงหาสิ่งที่ต้องการโดยไม่สนใจว่าจะดีหรือชั่ว
เพราะเขาไม่รู้สึกละอายหรือกระดาก ซึ่งมีผลก่อให้เกิดความเอารัดเอาเปรียบ
ทำร้ายทำลายกัน เผาผลาญทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง

คนประเภทนี้ มักเป็นคนมีความทะเยอทะยานโดย
ไม่สนใจเรื่องจริยธรรมและศีลธรรมใดๆ เป็นนักถือวัตถุนิยม
มักคึกคะนองลำพองใจ ว่าเรียนจบสูง หรือเรียนจบต่างประเทศ
มักลบหลู่ดูหมิ่น กฎแห่งกรรม สิ่งศักดิ์สิทธิ์ จารีตประเพณี
ว่าเป็นเรื่องคร่ำครึโบราณ (ทั้งๆ ที่ตนเองก็ไม่เคยสัมผัสหรือพิสูจน์ถึงที่สุด)
คนที่มีวาทะว่าฆ่าบิดามารดาเป็นกิจที่ควรทำ
ข้อนี้ หากมนุษย์ที่สามารถฆ่าคนใกล้ตัวทางเชื้อสายที่สุดได้
เขาย่อมไม่กลัวว่าจะความชั่ว ก่อความเดือดร้อน ตีรันฟันแทง ประหัตประหารคนอื่น
หากผู้เป็นลูกที่นึกถึงผลประโยชน์
หรือความแค้นชิงชังต่อพ่อแม่มากกว่าความสัมพันธุ์ทางสายเลือด
ไม่ว่าจะด้วยเหตุใดๆ คนนั้นๆ มโนธรรมในใจเขาย่อมเหลวแหลก
ไปเป็นเช่นใดก็ย่อมได้

ขอให้ท่าสังเกตให้รอบด้าน ว่าคนทั้ง 5 ประเภท
ในปัจจุบันมีมากขึ้นเท่าไหร่ ความขัดแย้งก็จะยิ่งมีมาก
ความเอารัดเอาเปรียบก็จะยิ่งมีมาก สงครามก็จะยิ่งรุนแรงมาก


No comments:

Post a Comment